ในโลกยุคปัจจุบันข้อมูล (data) ถือเป็น asset หรือทรัพย์สินองค์กรที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากองค์กรต่างๆหันมาสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในเกมส์ธุรกิจด้วยการใช้ประโยชน์จากข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นด้วยการประมวลผลข้อมูลในเชิงสถิติ การประเมินสถานการณ์ปัจจุบัน และแนวโน้มสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นด้วยการวิเคราะห์ข้อมูล หรือการประมวลผลข้อมูลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานภายในองค์กรก็ตาม ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการเข้าถึง และเรียกใช้ข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลามีความสำคัญ และจำเป็นเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้หากเราพิจารณาว่าข้อมูลคือทรัพย์สินอันมีค่าขององค์กร การปกป้องข้อมูลให้มีความปลอดภัย รวมถึงการจำกัดการเข้าถึงข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนในแต่ละระดับก็มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน
วันนี้ Darwinbox จะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับความแตกต่างในการจัดเก็บ และเรียกใช้ข้อมูลบนระบบที่แตกต่างกันซึ่งก็คือระบบแบบ On-Cloud และแบบ On-Premise ดังที่ทุกท่านอาจเคยได้ทราบข้อมูลกันบ้างมาไม่มาก็น้อยแล้ว แต่ในวันนี้เราจะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับทั้ง 2 ระบบแบบเชิงลึก ทำการเปรียบเทียบข้อแตกต่างเป็นข้อๆเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจว่าระบบไหนจะเหมาะสมกับองค์กรของคุณในอนาคต
ระบบบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลแบบ On-Cloud คืออะไร
ระบบ Cloud หรือ On-Cloud เป็นการให้บริการระบบในรูปแบบ System Host ซึ่งทำหน้าที่เป็นระบบศูนย์กลางเพื่อการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลโดยอนุญาตให้ระบบ หรือแพลตฟอร์มอื่นๆเข้ามาเชื่อมต่อเพื่อใช้งานแบบออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ต โดยศูนย์กลางการจัดเก็บข้อมูลนี้จะอยู่บนออนไลน์เซอร์เวอร์ หรือที่เรียกว่า On-Cloud Server
กล่าวคือระบบ หรือแพลตฟอร์มใดๆที่ให้บริการแบบ On-Cloud คือการที่ระบบนั้นๆให้บริการ และเก็บข้อมูลบนฐานข้อมูลออนไลน์ ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งานระบบ ให้สามารถใช้งานแพลตฟอร์ม และเรียกใช้ข้อมูลใดๆที่ถูกป้อนและจัดเก็บอยู่บนระบบได้ทุกที่ทุกเวลา ตราบใดที่เครื่องมือใช้งานแพลตฟอร์มกำลัง “ออนไลน์” อยู่นั่นเอง
On-Cloud Server เป็นเครือข่ายศูนย์ข้อมูลออนไลน์ขนาดใหญ่ โดยมีทีม IT ของผู้ให้บริการระบบเป็นผู้ดูแล และอัพเดตระบบให้มีความปลอดภัยและทันต่อเทคโนโลยีปัจจุบันอยู่เสมอ หากคุณเคยได้ยินคำว่า “server ล่ม” จึงไม่สามารถเข้าถึงและใช้งานข้อมูลได้ คำ ๆนี้จะไม่มีทางเกิดขึ้นได้ง่ายๆกับการใช้งานระบบแบบ On-Cloud เนื่องจาก server ขนาดใหญ่อันเป็น server หลักของระบบจะถูกติดตั้งอยู่ตามภูมิภาคที่สำคัญต่างๆทั่วโลก โดยแต่ละ server หลักจะถูกเชื่อมต่อเข้าถึงกันเพื่อทำหน้าที่จัดเก็บ อัพเดตข้อมูล รวมถึงทุกๆการดำเนินการกับข้อมูล (transactions) แบบเรียลไทม์ หาก server ใด server หนึ่งเกิดเหตุสุดวิสัยทำให้ไม่สามารถใช้งานได้ server อื่นๆที่เหลืออยู่จะทำการจัดเก็บ และประมวลผลข้อมูลตามการเรียกใช้งานแทนจนกว่า server ที่เสียหายนั้นจะกลับมาใช้งานได้อีกรอบ
การติดตั้งเพื่อใช้บริการ On-Cloud Server สามารถทำได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว อันที่จริงแล้วผู้ใช้บริการเพียงต้องเสียค่าบริการเพื่อ “เช่า” ใช้งานระบบแบบรายเดือนตาม resource หรือพื้นที่จัดเก็บ (CPU, RAM, HDD) ที่ต้องการเท่านั้น ซึ่ง On-Cloud Server สามารถรองรับการเติบโตทางธุรกิจอย่างรวดเร็ว โดบผู้เช่าบริการสามารถเพิ่ม หรือ ลดจำนวน resource (CPU, RAM, HDD) ได้ตามต้องการโดยไม่ต้องเสียเวลาติดตั้ง server ใหม่ ซึ่งนี่ถือเป็นหนึ่งในจุดแข็งของระบบเซอร์เวอร์แบบ On-Cloud
ระบบบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลแบบ On-Premise คืออะไร
On Prem หรือ On-Premise คือระบบ server แบบที่มีการติดตั้งและสามารถใช้งานได้ภายในองค์กรเพียงเท่านั้นซึ่งมีระยะเวลาในการใช้งานนานประมาณ 3-5 ปี โดยเมื่อครบกำหนดอายุเวลาแล้วโดยมากมักจะติดตั้ง Hardware server ตัวใหม่เนื่องจากเหตุผลทางด้านความปลอดภัยของข้อมูล และความต้องการในการอัพเดตเทคโนโลยีใหม่ การติดตั้งระบบแบบ On-Premise คือการซื้อขาดเทคโนโลยีในรูปแบบ Hardware server โดยผู้ซื้อ หรือใช้งานระบบจำเป็นที่จะต้องมีทีม IT เป็นของตนเองเพื่อบำรุงรักษา และอัพเกรดระบบด้วยตนเองอยู่เสมอเพื่อให้ระบบ server นั้นสามารถใช้งานได้อย่างราบรื่น หากองค์กรไม่มีทีม IT support เป็นของตัวเองสามารถเลือกใช้บริการ IT support จากผู้ให้บริการ IT outsource ได้ ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมตามเรทการให้บริการของผู้ให้บริการแต่ละรายแตกต่างกัน
ระบบ server แบบ On-Premise เป็นการใช้งานระบบปิด กล่าวคือการจะเข้าถึงข้อมูลได้ ผู้เรียกใช้ข้อมูล รวมถึงเครื่องมือที่จะใช้เพื่อเข้าถึงข้อมูลนั้นๆ จะต้องเป็นเครื่องมือที่มีการติดตั้งการเชื่อมต่อเอาไว้แล้ว และต้องอยู่ในพื้นที่ที่ระบุเท่านั้นจึงจะสามารถเข้าถึง หรือใช้งานข้อมูลได้
ในยุคก่อนระบบแบบ On-Premise มีความนิยมสูงกว่าระบบแบบ On-Cloud เพราะเชื่อว่ามีความปลอดภัยทางด้านข้อมูลมากกว่า อย่างไรก็ดีในยุคปัจจุบันที่ข้อมูลมีความเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้น และลดลงเป็นจำนวนมากในระยะเวลาสั้นๆซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อขนาดของ server หากต้องการจะติดตั้งระบบแบบ On-Premise ผู้ติดตั้งระบบจะทำการคำนวณ Buffer หรือขนาดพื้น server สำรองเพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของข้อมูลไว้ ซึ่งในส่วนนี้จะก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายที่มากเกินความเป็นจริงตั้งแต่ช่วงติดตั้งระบบ รวมถึงเมื่อคำนึงถึงความสะดวกในการเข้าถึงและใช้งานข้อมูลแบบเรียลไทม์ องค์กรส่วนมากในปัจจุบันจึงเริ่มเปลี่ยนมาลงทุนในระบบ Cloud มากขึ้นเรื่อย ๆ
ข้อแตกต่างระหว่างระบบบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลแบบ On-Cloud และ On-Premise
เมื่อเข้าใจพื้นฐานของระบบแบบ On-Cloud และ On-Premise แล้ว ในการที่จะประเมินเพื่อการตัดสินใจว่าองค์กรของคุณเหมาะที่จะลงทุนในระบบใดมากกว่ากันนั้น คุณจะต้อทราบถึงข้อแตกต่างซึ่งมีทั้งข้อดี และเสียที่แตกต่างกันไประหว่าง 2 ระบบ วันนี้ Darwinbox ได้ทำการรวบรวม และสรุปข้อมูลความแตกต่างระหว่างทั้ง 2 ระบบมาให้เป็นข้อๆดังนี้
- ค่าใช้จ่าย และการลงทุน (Cost):
On-Cloud:
- ค่าติดตั้ง และปรับระบบ (Implementation and Configuration Fees) เป็นค่าใช้จ่ายเพียงครั้งเดียวเมื่อเริ่มติดตั้ง และป้อนข้อมูลเข้าระบบ
- ค่าเช่าใช้งานระบบแบบรายเดือน (Subscription Fees) โดยเป็นการจ่ายตามจำนวนใช้งาน server จริง สามารถเพิ่ม หรือลดได้ ทั้งนี้ค่าบริการรายเดือนได้รวมค่าดูแลระบบ (Administration Fees) แล้ว
- ค่าฝึกสอนการใช้งานระบบ (Training Fees) ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ขึ้นกับผู้ให้บริการ ผู้ให้บริการระบบบางรายได้รวมค่าใช้จ่ายในส่วนการฝึกสอนเข้ากับค่าเช่าใช้งานระบบแบบรายเดือนแล้วจึงไม่มีค่าใช้จ่ายยเพิ่มเติม
On-Premise:
- ค่าเอกสิทธิ์การใช้บริการ (Software Licensing Fees)
- ค่าบำรุงรักษารายปี (MA - Maintenance Service Agreement) ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เป็นค่าใช้จ่ายรายปี ราย 3ปี หรือราย 5ปี ตามที่ระบุไว้ในสัญญา
- ค่าติดตั้ง และปรับระบบ (Implementation and Configuration Fees) เป็นค่าใช้จ่ายเพียงครั้งเดียวเมื่อเริ่มติดตั้ง และป้อนข้อมูลเข้าระบบ
- ค่าติดตั้ง Hardware ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายเพียงครั้งเดียว อย่างไรก็ดีค่าใช้จ่ายนี้ถือเป็นการลงทุนจำนวนมาก และหากครบกำหนดระยะเวลา 3-5ปี องค์กรส่วนมากนิยมเปลี่ยนเป็น Hardware รุ่นใหม่ด้วยเหตุผลในเรื่องความปลอดภัยในการปกป้องข้อมูลจากการถูกโจมตีทางไซเบอร์ (Cyber Security) และเพื่อให้สามารถรองรับเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลาได้
- ค่าจ้างทีมดูแลระบบ (IT Personnel Fees) เนื่องจกระบบแบบ On-Premise เป็นระบบซื้อขาด ดังนั้นองค์กรจึงมีความจำเป็นต้องจัดตั้งทีม IT ผู้เชี่ยวชาญในการดูแลรักษาทั้งในเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล และการดูแลรักษา รวมถึงอัพเดต Software ให้เป็นเทคโนโลยีปัจจุบันอยู่เสมอด้วยตัวเอง ซึ่งค่าใช้จ่ายนี้ถือเป็นค่าใช้จ่ายแบบต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) ซ่งเป็นค่าใช้จ่ายจำนวนมาก บางองค์กรจึงตัดสินใจใช้บริการ IT ภายนอกองค์กรหรือ (IT Outsourcing) ซึ่งอาจมีค่าบริการต่อเดือนที่ต่ำกว่า แต่ก็มีความเสี่ยงในเรื่องการรั่วไหลของข้อมูล (Data Breach) มากกว่าเช่นกัน
- ค่าฝึกสอนการดูแลระบบ (IT Training Fees) เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อฝึกฝนทักษะของทีม IT ในองค์กร และฝึกสอนพนักงานในการปกป้องดูแลข้อมูลไม่ให้เกิดการรั่วไหล
- ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในการดูแลรักษาระบบ อาทิ ไฟฟ้า และ เครื่องปรับอากาศ เป็นต้น เนื่องจากการติดตั้ง hardware ภายในองค์กรซึ่งมีความจำเป็นต้องอยู่ในห้องที่มีความเย็นสูง และได้รับการบำรุงรักษา ตรวจสอบตลอดเวลา ค่าใช้จ่ายแฝงส่วนนี้จึงมีจำนวนมาก
- การดูแลรักษาระบบ (System Maintenance):
On-Cloud:
- ต้องการเพียงทีม IT Support เพื่อช่วยให้การตรวจสอบดูแลเมื่อเกิดเคสปัญหาต่างๆ เพื่ออัพเดตเวอร์ชั่นของระบบให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ ทั้งนี้เนื่องจากระบบจะถูกพัฒนาและอัพเดตอยู่ตลอดเวลา ระบบแบบ Cloud ไม่จำเป็นต้องมีบุคลากรดูแลเป็นจำนวนมาก เนื่องจากระบบจะมีการตรวจสอบ และแจ้งเตือนอัตโนมัติ การติดตั้ง หรืออัพเดตซอฟต์แวร์สามารถทำได้ง่าย
On-Premise:
- จำเป็นต้องมีบุคลากรเฉพาะทาง เพื่อดูแลระบบโดยเฉพาะ อาทิ Data Admin, Data Security, Data Infrastructure เป็นต้น เนื่องจากระบบ On-Premise เป็นระบบซื้อขาดผู้จำหน่ายระบบทำหน้าที่เพียงช่วยติดตั้ง และปรับระบบ (Implementation and Configuration) ตามต้องการในครั้งแรกเพียงเท่านั้น แต่ไม่ได้ช่วยดูแลลในส่วนการบำรุงรักษา
- การเข้าถึงและใช้งานระบบ:
On-Cloud:
- สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านเว็บบราว์เซอร์ (Web Browser) หรือแอพพลิเคชั่น (Application) ผ่านอุปกรณ์ใดก็ได้ด้วยการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต โดยข้อมูลจะถูกอัพเดต และประมวลแบบเรียลไทม์ ข้อจำกัดเพียงหนึ่งเดียวในการเข้าถึงข้อมูลด้วยระบบ Cloud คือเมื่อใดก็ตามที่ระบบอินเตอร์เน็ตล่ม
On-Premise:
- สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ผ่าน Hardware และ Software ที่ถูกตั้งค่าไว้เท่านั้น ซึ่งโดยปกติแล้วจะถูกจำกัดพื้นที่ใช้งานเพียงแต่ในพื้นที่องค์กรเท่านั้น ทำให้เมื่อใดก็ตามที่ต้องการเข้าถึง หรือเรียกใช้ข้อมูลผู้ใช้งาน (Users) จำเป็นที่จะต้องเข้าถึงข้อมูลผ่านอุปกรณ์ที่มีการตั้งค่าไว้แล้วภายในบริเวณองค์กรเท่านั้น
- การบริหารความปลอดภัย และความเสี่ยง (Security and Risk Management):
On-Cloud:
- การควบคุมการเข้าถึงข้อมูล (Access Control) สามารถปรับเปลี่ยนระดับ หรือกลุ่มผู้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ตลอดเวลาตามความเหมาะสม นโยบายองค์กร หรือ ข้อกำหนดที่มีการอัพเดตอยู่เสมอ โดยการปรับเปลี่ยนสามารถทำได้อย่างง่ายดายผ่านการตั้งค่าข้อมูลใหม่บนระบบโดยตัวแอดมินผู้ดูแลระบบเอง ไม่จำเป็นต้องใช้ทีม IT Development ในการทำการแก้ไข
- ระบบป้องกันและแจ้งเตือนการถูกโจมตีโดยอัตโนมัติ ตามปกติแล้วระบบ Cloud Solutions จะมีการติดตั้งโปรแกรมเพื่อป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ขั้นสูง หรือที่เรียกว่า Cloud Computing ซึ่งจะมีการอัพเดตตลอดเวลาเพื่อป้องกันการโจมตีรูปแบบใหม่ๆ โดยมีทีม IT Security ของผู้ให้บริการระบบคอยทำการตรวจสอบความปลอดภัย โดยทำการโจมตีระบบ หรือทำตัวเป็นแฮกเกอร์ (Hacker) เสียเอง เพื่อตรวจสอบจุดรั่วไหลของ Firewall เพื่อทำการแก้ไขปรับปรุงต่อไปนั่นเอง
- การทำ training พนักงานในองค์กรให้เท่าทันต่อการโจมตีทางไซเบอร์ (Cyber Attack) มีความจำเป็นเป็นอย่างมาก ผู้ให้บริการ Cloud บางรายมีการให้บริการในส่วนการจัดทำ training ผ่านรูปแบบต่างๆ ไม่วาจะเป็นการฝึกสอนผ่านคอสเรียนออนไลน์ หรือการสุ่มโจมตีพนักงานผ่านระบบเพื่อตรวจสอบความพร้อมของพนักงานในองค์กรเป็นต้น
- มีการจัดสำรองข้อมูล ดังที่กล่าวไปข้างต้นว่าการทำงานของระบบ Cloud คือการสร้างเครือข่ายศูนย์ข้อมูลออนไลน์ โดยมีฐานข้อมูล หรือ Data Center หลักในหลากหลายภูมิภาคทั่วโลก นั่นหมายความว่าข้อมูลของคุณจะถูกจัดเก็บและสำรองข้อมูลไว้ตาม Data Center ต่างๆที่ทางผู้ให้บริการระบบ Cloud มีอยู่ หาก Data Center ที่ใช้งานหลัก (โดยปกติจะเป็น Data Center ที่อยู่ใกล้กับพื้นที่ใช้งานที่สุด อาทิ หากเป็นองค์กรในประเทศไทย Data Center จะอยู่ในประเทศเขตภูมิภาคอาเซียน โดยในปัจจุบันผู้ให้บริการระบบ Cloud บางรายก็มีการตั้ง Data Center ในประเทศไทยเช่นกัน) เกิดปัญหาขึ้น การเรียกใช้งานและเข้าถึงข้อมูลจะยังสามารถทำได้เป็นปกติ เพียงอาจเกิดความล่าช้าขึ้นเล็กน้อ ย เนื่องจากจะเป็นการเรียกใช้ข้อมูลจาก Data Center ที่อยู่ไกลขึ้น ดังนั้นจึงมั่นใจได้ว่า หากเกิดเหตุสุดวิสัยที่ข้อมูลถูกลบไป ข้อมูลสำคัญเหล่านั้นจะยังถูกสำรองเก็บอยู่ใน Data Center อื่น
** อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันยังมีข้อกังขาเกี่ยวกับมาตรฐานความปลอดภัยของ Cloud Computing อยู่มากเนื่องจากลูกค้าระบบจำเป็นจะต้องฝากความหวังในการการเก็บรักษาความปลอดภัยของข้อมูลเกือบทั้งหมดไว้บนมือของผู้ให้บริการระบบ Cloud
On-Premise:
- การควบคุมการเข้าถึงข้อมูล (Access Control) จะเป็นไปตามที่ตั้งค่าไว้แต่เดิมไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หรือหากมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลง ทีม Development ที่ดูแลระบบจำเป็นต้องเขียนโค้ดใหม่เพื่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวซึ่งจะกินระยะเวลานาน และอาจส่งผลกระทบต่อโค้ดระบบอื่นๆ
- องค์กรจำเป็นต้องมีทีม Data Security ซึ่งมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ (Cyber Attack) ในการดูแลรักษาระบบ
- องค์กรจำเป็นต้องจัด training พนักงานในองค์กร และพนักงานใหม่อย่างสม่ำเสมอเกี่ยวกับการปกป้องข้อมูล เพื่อป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไม่ว่าจะเป็นการโจมตีผ่าน มัลแวร์ (Malware), แรนซัมแวร์ (Ransomware), โจมตีแบบดักกลางทาง (Man-in-the-middle attack), ฟิชชิ่ง (Phishing), การโจมตีโดยปฏิเสธการให้บริการ (Distributed Denial of Service: DDOS), ภัยคุมคามจากภายใน (Insider threat)
- ไม่มีการสำรองข้อมูล ในกรณีเกิดเหตุรั่วไหล ระบบล่ม หรือถูกโจมตีทางไซเบอร์แล้วถูกลบข้อมูล จะทำให้ทั้งองค์กรไม่สามารถเข้าถึงและเรียกใช้ข้อมูลดังกล่าวได้ ซึ่งอาจสร้างความเสียหายทางธุรกิจได้อย่างสูง
** เชื่อว่าการเก็บรักษาความปลอดภัยของข้อมูลด้วยการใช้งานระบบ On-Premise มีความน่าเชื่อถือกว่าแบบ On-Cloud เนื่องจากข้อมูลจะถูกเก็บรักษาไว้ภายใน Data Center ซึ่งอยู่ในพื้นที่ขององค์กรเท่านั้น การรั่วไหลของข้อมูล หรือ Data Breach โดยมากจะเกิดจากฝีมือบุคคลภายในองค์กรที่จงใจปล่อยข้อมูลเท่านั้น อย่างไรก็ดีมีความเป็นไปได้สูงที่ผู้ประสงค์ร้ายจะแอบเข้ามาในพื้นที่องค์กรและโจมตี Data Center จากภายใน
- การปฏิบัติตามข้อกำหนด และกฎหมาย (Compliance):
On-Cloud:
- On-Cloud Solution อาจมีข้อจำกัดบางประการที่อาจไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดของธุรกิจอุตสาหกรรม อาทิ ศูนย์พื้นที่จัดเก็บข้อมูล (Data Center) จะเป็น ต้องอยู่ในประเทศเพียงเท่านั้น ดังนั้นก่อนตัดสินใจเลือกผู้ให้บริการ องค์กรควรมีการทำ Due Diligence หรือการสอบทานธุรกิจและการให้บริการของผู้ให้บริการเสียก่อน เพื่อให้มั่นใจว่า รูปแบบการให้บริการของผู้ให้บริการ Cloud รายนั้นๆมีความสอดคล้องกับธุรกิจองค์กร
On-Premise:
- เนื่องจากทั้ง Hardware และ Software ถูกควบคุมและกำกับดูแลโดยองค์กร ดังนั้นการควบคุมดูแลการเข้าถึง ประมวลผล และเผยแผ่ข้อมูลจึงถูกกำกับดูแลโดยผู้ดูแลระบบขององค์กรทั้งสิ้น ทั้งนี้หากเกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านข้อปฏิบัติ ข้อกำหนด กฎหมาย หรือนโยบาย ผู้ดูแลระบบจำเป็นจะตั้งอัพเดตข้อมูลอยู่เสมอ เพื่อปรับปรุงระบบให้เป็นไปตามข้อกำหนด และกฎหมายเหล่านั้น
- อายุการใช้งาน (Lifespan):
On-Cloud:
- เนื่องจากการบำรุงรักษา Hardware การอัพเดตเทคโนโลยีซอฟต์แวร์ใหม่ๆ รวมไปถึงการเก็บข้อมูลต่างๆที่ data center อยู่ที่ความรับผิดชอบของผู้ให้บริการระบบ cloud solution ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่า On-Cloud Solution มีอายุการใช้งานนานตราบเท่าที่ผู้ใช้บริการยังพิจารณาเช่าใช้บริการระบบ cloud นั้นๆอยู่
On-Premise:
- โดยปกติแล้วอายุการใช้งานของ Hardware จะมีอายุอยู่ประมาณ 3-5 ปี ขึ้นอยู่กับการบำรุงรักษาระหว่างการใช้งาน Hardware นั้นๆ อย่างไรก็ดี เมื่อครบกำหนดระยะเวลาอายุการใช้งานแล้ว องค์กรมักลงทุนติดตั้ง Hardware ตัวใหม่แทนชุดเดิม เนื่องด้วยเหตุผลทางด้านความปลอดภัยของข้อมูล และขีดความสามารถในการรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆ Hardware รุ่นเก่ามักมีขีดจำกัดในการรองรับเทคโนโลยีใหม่ๆที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
- เทคโนโลยี และพื้นที่จัดเก็บข้อมูล (Technology and Scalability)
On-Cloud:
- เทคโนโลยี รวมไปถึงข้อมูลต่างๆบนระบบจะถูกดูแล และอัพเดตแบบเรียลไทม์ตลอดเวลา ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถใช้บริการเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดได้อยู่เสมอ โดยตามปกติแล้วระบบจะส่งแจ้งเตือนล่วงหน้าหากมีการอัพเดตเวอร์ชั่น ซึ่งผู้ดูแลระบบ หรือผู้ใช้งานสามารถอัพเดตเวอร์ชั่นของระบบให้เป็นเทคโนโลยีปัจจุบันได้ด้วยตนเองอย่างง่ายดาย
- การทำ scale-up (เพิ่มพื้นที่จัดเก็บข้อมูล) หรือ scale-down (ลดพื้นที่จัดเก็บข้อมูล) สามารถทำได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว เพียงแจ้งต่อผู้ให้บริการระบบรับทราบเนื่องจากการเพิ่ม หรือลดพื้นที่จัดเก็บข้อมูลจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อราคาค่าบริการเช่าใช้งานระบบ
On-Premise:
- ผู้ใช้บริการระบบแบบ On-Premise จะสามารถใช้งานเทคโนโลยีในเวอร์ชั่นตอนติดตั้งระบบเท่านั้น เทคโนโลยีจะไม่ถูกพัฒนาเวอร์ชั่นตามเทคโนโลยีใหม่ๆที่เกิดขึ้น แต่หากผู้ใช้บริการระบบแบบ On-Premise มีทีม IT Development ที่สามารถช่วยดูแลอัพเดตเทคโนโลยีใหม่ๆให้กับระบบได้ระบบก็จะถูกพัฒนาได้เช่นกัน อย่างไรก็ดีเนื่องจากข้อจำกัดทางด้าน Hardware เทคโนโลยีระบบจะถูกพัฒนาได้ในระยะเวลาช่วงสั้นๆเท่านั้น
- มีข้อจำกัดในการ scale-up (เพิ่มพื้นที่จัดเก็บข้อมูล) หรือ scale-down (ลดพื้นที่จัดเก็บข้อมูล) ไม่สามารถทำได้เองในทันที จึงไม่เป็นผลดีกับองค์กรที่มีความเปลี่ยนแปลงทางด้านข้อมูล และบุคลากรอย่างรวดเร็ว
จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น Darwinbox เชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าผู้ที่อ่านบทความมาจนถึงบรรทัดนี้จะต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อแตกต่างระหว่างการให้บริการระบบ HRMS On-Cloud Solution และ HRMS On-Premise Solution เพิ่มขึ้นไม่มากก็น้อย
สำหรับ Darwinbox เองแล้วเราคือผู้ให้บริการระบบ On-Cloud HCM แบบครบวงจร กล่าวคือ ระบบ HCM Solution ของเราให้บริการทั้งในส่วน HRIS และ HRMS แบบ On-Cloud Solution ระบบ HCM ที่เราให้บริการจะมีรอบการปรับปรุงพัฒนาเทคโนโลยีเวอร์ชั่นใหม่ๆตลอดเวลา ซึ่งทำให้ผู้ใช้บริการระบบของเราก้าวทันเทคโนโลยีใหม่ๆในวงการ HR ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็น การวิเคราะห์ข้อมูลและการทำรายงาน การนำเทคโนโลยี AI มาใช้ในกระบวนการสรรหาบุคลากร Employee Engagement Employee Helpdesk หรือการนำเทคโนโลยี AI มาใช้ในกระบวนการต่างๆทางด้าน HR อีกมากมาย ที่เราเรียกว่า Darwinbox Sense หากคุณผู้อ่านสนใจรับทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการให้บริการระบบ HCM Solution จาก Darwinbox คุณผู้อ่านสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกับทีมงานของเราได้โดยตรงโดยทำการนัดหมายเพื่อรับชมการสาธิตระบบ ที่นี่
Speak Your Mind