<img height="1" width="1" style="display:none;" alt="" src="https://px.ads.linkedin.com/collect/?pid=231787&amp;fmt=gif">

    การริเริ่มสู่เส้นทางการเปลี่ยนแปลงของระบบทรัพยากรบุคคลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก: มุมมองของวิวัฒนาการของการเปลี่ยนแปลงของระบบทรัพยากรบุคคลในปี 2023

    December 13, 2023

    Stay Updated

    organizational agility, employee experience, HR transformation in Asia, tips for successful HR transformation, HR operating model
    Shreya Srivastava
    Written By
    Shreya Srivastava
    Topic
    HR Evolution

    รายงานผลสำรวจ และศึกษาที่ใหญ่ที่สุดใน APAC ได้เปิดเผยว่าผู้นำทางด้านทรัพยากรบุคคลระดับภูมิภาคให้ความสำคัญในการกำหนดทิศทาง และรูปแบบทางธุรกิอย่างไรเมื่อกำลังเผชิญหน้ากับความไม่แน่นอน และการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่มาในรูปแบบของ AI และวิวัฒนาการในการขับเคลื่อนธุรกิจด้วยเทคโนโลยี เราพร้อมที่จะแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกจากผลการสำรวจนี้ ที่มุ่งประเด็นศึกษาไปที่การจัดเรียงลำดัความสำคัญของตัวแปลต่างๆทางด้าน HR ที่จะนำองค์กรก้าวไปสู่ความสำเร็จ

    Perspectives: เบื้องหลังการทำงาน

    เมื่อต้นปี 2023 ที่ผ่านมา ได้มีความเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อความไม่แน่นอนและทำให้กระบวนการทำงานต่างๆนั้นได้หยุดชะงัก เช่น การเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมือง เศษฐกิจที่ตกต่ำลง แนวโน้มของภาวะถดภอย และพลังของระบบ AI ที่เข้ามาทำให้เปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ของผู้มีความสามารถในการทำงาน ท่ามกลางความสับสนวุ่นวายนี้ มีสิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงจนเกิดความชัดเจนมากขึ้น นั่นคือ การทำงานของฝ่ายทรัพยากรบุคคล ซึ่งทำหน้าที่เป็นแนวหน้าขององค์กรเพื่อช่วยให้องค์กรสามารถอยู่รอดและเจริญเติบโตในโลกแห่งการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไป

    อ่านรายงาน HR Evolution Perspectives – การวิจัยสำรวจที่เป็นผลมาจากการที่หลายๆองค์กรได้ตระหนักถึงความจำเป็นในการเปิดเผยถึงความเปลี่ยนแปลงของธุรกิจและภูมิทัศน์ของบุคลากรที่ได้เปลี่ยนแปลงไปนั้นทำให้เปลี่ยนบทบาทและการทำงาน ความพร้อมของฝ่ายทรัพยากรบุคคลได้อย่างไร ในขณะที่ในภูมิภาคที่เอเชียนั้น ได้เปิดรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมการทำงานนั้น จุดสำคัญของจุดนี้อยู่ที่การทำความเข้าใจว่าผู้นำฝ่ายทรัพยากรบุคคลในภูมิภาคนั้นจะสามารถนำองค์กรผ่านการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้อย่างไรเพื่อบุกเบิกเส้นทางใหม่สู่การเปลี่ยนแปลงในการทำงานในปัจจุบัน

    Darwinbox ได้ร่วมมือกับ People Matters ในการทำสำรวจทั่วเอเชียแปซิฟิก โดยทำการรวบรวมข้อมูลเชิกลึกจาก CxO กว่า 350 รายและพนักงานกว่า 1,500 รายจากองค์กร 1,200 องค์กรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดีย และ MENA การวิจัยของเราได้รับแรงหนุนจากสมมติฐานพื้นฐานสองข้อ

    1. บทบาทความรับผิดชอบของ HR

    จากการพัฒนาธุรกิจในยุคปัจจุบัน ฝ่ายทรัพยากรบุคคลนั้นมีความจำเป็นที่จะต้องตอบสนองต่อความต้องการทางธุรกิจมากยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันนั้น พวกเขายังต้องสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับพนักงานเพื่อตอบสนองต่อความต้องการที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาของพวกเขา

    2. ตัวเร่งปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี

    เทคโนโลยี่ซึ่งเป็นผู้เปลี่ยนแปลงเกมของธุรกิจ พร้อมที่จะมีบทบาทสำคัญในการเร่งการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการเปลี่ยนแปลงต่างๆ

    ลองมาทำความเข้าใจกับข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญบางส่วนที่ค้นพบจาก รายงานผลสำรวจ.

    สำรวจภูมิทัศน์การเติบโตของธุรกิจในเอเชีย: กลยุทธ์และเทรนด์ต่างๆ

    ท่ามกลางความท้าทายที่เริ่มต้นมากจากการเปลี่ยนแปลงของเศษฐกิจโลก เอเชียนั้นได้กลายเป็นจุดยุธศาสตร์สำคัญ ถึงแม้ว่าจะมีอุปสรรคต่างๆ เช่น นโยบายการเงินใหม่ อัตราดอกเบี้ย และความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ นอกจากนี้แล้ว IMF ได้คาดการณ์ไว้ว่า การเติบโตในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะเพิ่มขึ้นเป็น 4.6% ในปี 2566 จาก 3.8% ในปี 2564

    กลยุทธ์ในการเติบโตที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของเอเชีย ที่ไม่เพียงแต่เน้นในการทำกำไรเพิ่มและผลผลิตที่มากขึ้นเท่านั้น แต่ยังมุ่งเน้นไปที่แนวทางการเติบโตอย่างยั่งยืนมากขึ้น:

    dboxon

    1. แนวทางการเติบโตแบบองค์รวมของเอเชีย

    กลยุทธ์การเติบโตในภูมิภาคเอเชียที่ขับเคลื่อนโดยใช้กลยุทธ์ที่เน้นนวัตกรรม เช่น การเคลื่อนไหว "Go Local" และการเสริมสร้างความเข้มแข็งของการเชื่อมโยงทางการค้าในระดับภูมิภาค แต่ก็มุ่งเน้นไปที่การเติบโตที่ยั่งยืนไม่แพ้กัน นอกเหนือจากอัตรากำไรและผลผลิตที่สูงขึ้น

    2. ข้อมูลเชิงลึกของ CxO เกี่ยวกับการเติบโต

    รายงานส่วนใหญ่จากการสำรวจของ CxO จำนวน 350 รายนั้นได้คาดการณ์ว่าในอีกสองถึงสามปีข้างหน้านั้น กลยุทธ์ ""Go Local"" และผลกระทบที่เพิ่มขึ้นของกลุ่ม Gen Z ในด้านแรงงาน และนำไปสู่รายได้ที่มากขึ้น การขยายตัวตามธรรมชาติ และการควบรวมกิจการ (Mergers & Acquisitions)

    3. การสร้างสมดุลระหว่างการทำงานที่ประสิทธิภาพและความยั่งยืน

    ในขณะที่ 58% ของ CxO คาดหวังความสามารถในการทำกำไรที่สูงขึ้น แต่ 18% กำลังวางแผนที่จะปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตโดยไม่ต้องเพิ่มจำนวนพนักงาน เป้าหมายในการเพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพของพนักงานปัจจุบันให้สูงที่สุด โดยที่นวัตกรรมในยุคดิจิทัลและการมุ่งเน้นในเรื่องการทำงานแบบยั่งยืนกลายเป็นตัวกำหนดกลยุทธ์ในการทำงาน โดยมีความมุ่งมั่นในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้สุทธิกลายเป็นศูนย์ และให้ความสำคัญกับเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) มากขึ้น

    การนำเส้นทางธุรกิจผ่านการแข่งขันทางด้านทาเลนท์ ท่ามกลางการเติบโตอย่างรวดเร็วของเอเชีย

    ในขณะที่เอเชียนั้นกำลังอยู่บนเส้นทางการเติบโตทางด้านธุรกิจอย่างรวดเร็วนั้น ความท้าทายด้านบุคลากรที่พบเจอนั้น ส่งผลให้องค์กรต่างๆไม่ทันได้ระวังตัวกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ การเติบโตที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วนั้นเผยให้เห็นปัญหาทางด้านการเงินขององค์กร ความสามารถ และนวัตกรรมที่ใช้ภายในองค์กร ทำให้ CxO ที่ได้รับการสำรวจที่มากกว่า 350 รายไม่แน่ใจเกี่ยวกับความพร้อมของพวกเขาสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นนี้ ด้วยข้อมูลเชิงลึกที่เน้นย้ำเกี่ยวกับนวัตกรรมที่ก้าวไปอย่างรวดเร็วและแผนการเติบโตขององค์กรที่ไม่เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ซึ่งสร้างความเสี่ยงและไม่ไว้วางใจให้กับบุคลากรที่มีความสามารถ

    ข้อมูลเน้นให้เห็นถึงความเสี่ยงต่างๆและถือว่ามีความเสี่ยงเป็นอันดับต้นๆ มีดังต่อไปนี้: การพัฒนาขีดความสามารถในบทบาทที่สำคัญ (63%) การเปิดรับโมเดลงานดิจิทัลใหม่ๆ (49%) กระบวนการเป็นผู้นำที่ไม่เพียงพอ และต้นทุนบุคลากรที่เพิ่มขึ้น (44%) ช่องโหว่นี้เกิดจากช่องว่างระหว่างผลกระทบความเสี่ยงและความพร้อมขององค์กร เมื่อวางแผนกลยุทธ์องค์กรและบุคลากร CxO ต้องพิจารณาความจำเป็นบางประการ:

    1. การเป็นผู้นำและการกำหนดรูปแบบการทำงาน

    ปลูกฝังความเป็นผู้นำ รักษาสมดุลของต้นทุน ดึงดูดบุคลากรที่มีความสามารถ และชี้แนะให้พนักงานทั้งหมดมีส่วนร่วมและมีจุดหมายในการทำงานท่ามกลางความไม่แน่นอน

    2. ติดตามปัญหาหารขาดแคลนทักษะที่มีอยู่ตลอดเวลา

    ระบุ ปรับใช้ และส่งเสริมทักษะอย่างรวดเร็ว หลุดพ้นจากการขาดแคลนทักษะอย่างถาวร

    3. ความพยายามในการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปอย่างยั่งยืน

    ส่งเสริมนวัตกรรมใหม่ๆในการทำงาน การจัดการความเสี่ยงของภาวะ Burnout และรับรองว่าพนักงานที่มีส่วนร่วมจะยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างราบรื่น

    การสำรวจความคาดหวังของพนักงานที่เปลี่ยนแปลงไป

    ในสถานการณ์ปัจจุบัน พนักงานมีอิทธิพลมากขึ้นในสถานที่ทำงาน ทำให้เกิดความท้าทายมากมาย การหมุนเวียนอย่างรวดเร็วและการแข่งขันด้านความสามารถอันดุเดือดเกิดขึ้นพร้อมกัน เป้าหมายด้านผลิตภาพและความเหนื่อยหน่ายก็เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน แนวโน้มเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จาก ""การลาออกครั้งใหญ่"" เป็น ""การลาออกอย่างเงียบๆ ไปสู่ ""การจ้างงานอย่างเงียบๆ"" ซึ่งเรียกร้องให้มีการปรับตัว ในสถานการณ์นี้ CxO เผชิญกับความท้าทายสองประการ: การปรับองค์กรให้สอดคล้องกับความคาดหวังของพนักงานแบบไดนามิก ในขณะเดียวกันก็จัดการต้นทุน ส่งเสริมนวัตกรรม และขับเคลื่อนการเติบโต พลวัตนี้เพิ่มความจำเป็นสำหรับกลยุทธ์ที่สามารถสร้างสมดุลระหว่างลำดับความสำคัญทั้งสองนี้เพื่อผลลัพธ์ที่ดีทั้งในด้านธุรกิจและพนักงาน

    จากการวิจัยข้อมูลเชิงลึกจากพนักงานมากกว่า 1,500 คน CxO นั้นจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับความต้องการของพนักงานให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งหมายถึงการเข้าใจถึงสิ่งที่ขับเคลื่อนการทำงานของพวกเขา เช่น การเห็นคุณค่าของความสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวและการทำงาน (54%) การตระหนักถึงความเป็นผู้นำที่มีความแข็งแกร่ง (52%) และการเปิดรับสิ่งที่เน้นถึงจุดมุ่งหมายของการทำงาน (46%) ข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้แนะนำองค์กรในการดูแลทั้งบุคลากรและเป้าหมายทางธุรกิจในเวลาเดียวกัน

    dboxon

     

    แนวโน้มการพัฒนาความคาดหวังของพนักงาน

    1. ความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานที่เป็นความคาดหวังอันดับต้น

    การมีสมดุลระหว่างการใช้ชีวิตส่วนตัวและการทำงานในแต่ละวันนั้นเป็นตัวแปรสำคัญเมื่อพนักงานจำเป็นจะต้องพิจารณาเมื่อถึงเวลาที่พวกเขาต้องประเมิณนายจ้าง การมีความยืดหยุ่นในการทำงานหมายถึงการมีอิสระในเวลาการทำงานของพวกเขา ในขณะที่การรักษาสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวและชีวิตการทำงานของพนักงานนั้นจะต้องมีความสมดุลให้เท่ากัน ทั้งสองข้อนั้นมีความสำคัญอย่างมากต่อการทำงานของพนักงานที่มีประสิทธิภาพสูง และความแตกต่างเหล่านี้ก็เป็นประเด็นสำคัญที่ CxO จำเป็นต้องทำความเข้าใจด้วย

    2. ความคาดหวังเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดีมีความสำคัญเป็นอันดับต้น

    ในสภาพแวดล้อมการทำงานที่เป็นการทำงานแบบ Hybrid นั้น พนักงานส่วนใหญ่ล้วนมองหาความเป็นผู้นำในตัวหัวหน้างานของพวกเขา และยังต้องมีวัตถุประสงค์ร่วมกันที่นอกเหนือไปมากกว่าเรื่องการทำงาน ท่ามกลางแรงกดดันที่มีอยู่มากมายทางด้านธุรกิจและความคลุมเครือ พวกเขานั้นจำเป็นต้องมีความเข้าใจและการสนับสนุนทั้งเรื่องความรู้สึก ทางด้านจิตใจ และความสมเหตุสมผลทั้งในเรื่องผลงานและชีวิตการทำงานของพวกเขา

    3. ความคาดหวังที่เพิ่มขึ้นในเรื่องรายได้ที่ดีขึ้น สิทธิประโยชน์ และการเปลี่ยนแปลงการทำงานสู่ระบบดิจิทัลที่ดีขึ้น

    การทำงานในระบบ Hybrid นั้นได้ทำการขับเคลื่อนความคาดหวังสำหรับการทำงานร่วมกันระหว่างแผนกในองค์กรโดยที่มีเทคโนโลยีเข้ามาช่วย การที่พนักงานแต่ละคนนั้นไม่จำเป็นจะต้องเข้าทำงานที่สำนักงานและให้พวกเขามุ่งเน้นไปที่ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจะช่วยให้ยกระดับความคาดหวังในการได้รายได้ที่ดียิ่งขึ้น รวมไปถึงเรื่องสิทธิประโยชน์ และการเปลี่ยนแปลงการทำงานสู่ระบบดิจิทัลที่ดีขึ้น

    พลิกโฉมระบบการทำงานของทีมทรัพยากรบุคคลในเอเชีย

    ประสบการณ์ของพนักงานที่กลายเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด

    ในปี 2023 การเปลี่ยนแปลงในการทำงานของแผนกทรัพยากรบุคคลนั้นกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมาก นี่เป็นเพราะการตระหนักถึงการมีบทบาทในความสามารถขององค์กรที่จะแข่งขันกับคู่แข่งในตลาดได้ ในขณะเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงของแผนกทรัพยากรนั้นเป็นกระบวนการที่กำลังดำเนินอยู่ โดยที่ผู้นำฝ่ายทรัพยากรบุคคลนั้นจำเป็นต้องให้ความสนใจและบรรลุความเป็นเลิศในการปฏิบัติงานและอิทธิพลเชิงกลยุทธ์ของการทำงานของพนักงาน ในอดีต การเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรบุคคลซึ่งเน้นไปที่การลดต้นทุนและการขยายบริการมักจะล้มเหลวเนื่องจากพนักงานส่วนใหญ่มักจะต่อต้านการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น ด้วยการเปลี่ยนแปลงของความคาดหวังในการทำงาน ฝ่ายทรัพยากรบุคคลจำเป็นต้องขับเคลื่อนองค์กรทั้งในเรื่องประสิทธิภาพในการให้การบริการตามระดับสายงานเท่านั้น แต่ยังต้องมีประสิทธิภาพในการบรรลุความสามารถและผลลัพธ์ทางธุรกิจด้วย

    การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่ปรากฏเห็นได้ชัดคือ ประสบการณ์ของพนักงานถูกกำหนดให้เป็นศูนย์กลางในการเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรบุคคล ขณะใน 2 ใน 3 ขององค์กรนั้นได้เริ่มให้ความสำคัญกับการยกระดับประสบการณ์ของการทำงานของพนักงานซึ่งเป็นที่น่าประทับใจอย่างมาก เทียบกับเพียง 1 ใน 3 ที่มีความคาดหวังเกี่ยวกับการปรับปรุงคุณภาพการบริการด้านทรัพยากรบุคคลที่ดีขึ้น (63%) เพิ่มศักยภาพให้กับผู้จัดการและพนักงาน (59%) และตอบสนองความต้องการทางธุรกิจในเชิงรุก (52%)

    dboxon

    ส่งเสริมพลังการเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรบุคคลที่ผลกระทบอย่างรุนแรง

    ความคล่องตัวของทรัพยากรบุคคลและประสบการณ์ของพนักงานกลายเป็นเสาหลักสองประการ

    ความคาดหวังจากฝ่ายทรัพยากรบุคคลที่กำลังมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และการตอบรับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ที่ยึดหลักแนวทางการเปลี่ยนจาก ""ภายนอก สู่ภายใน"" ซึ่งมุมมองนี้มีปัจจัยสำคัญสองประการคือ "ความคล่องตัวของทรัพยากรบุคคล" และ "ประสบการณ์การทำงานของพนักงาน"

    ความคล่องตัวของทรัพยากรบุคคล (HR Agility)

    ความสามารถของการรับมือของฝ่ายทรัพยากรบุคคลในการรับรู้และตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของแนวทางปฏิบัติที่เชื่อมโยงการทำงานของพนักงานในองค์กรให้เชื่อมต่อกันได้ดีและการกำกับดูแลฝ่ายต่างๆที่มีความเข้มแข็ง

    ประสบการณ์การทำงานของพนักงาน

    ความสามารถขององค์กรในการพัฒนาพนักงานโดยการสนับสนุนการเติบโตของพนักงาน โปร่งใสกับพนักงานทุกคน สร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน และมีความเห็นใจกับทุกคน

    dboxon

    ประสบการณ์ทำงานของพนักงานนนั้นส่งผลให้วิธีการการมองความสัมพันธ์ของพวกเขากับองค์กร ในขณะที่ยังคงความคล่องตัวของทรัพยากรบุคคลช่วยให้องค์กรและพนักงานสามารถปรับตัวเข้ากับเงื่อนไขทางธุรกิจที่เพิ่มมากขึ้นได้อย่างรวดเร็ว องค์ประกอบเหล่านี้ทำให้การทำงานร่วมกันเพื่อสร้างกลยุทธ์ด้านกำลังคนนั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แสดงให้เราได้เห็นการปกครองที่ดี, การบริการที่เป็นเลิศ และแนวปฏิบัติด้านบุคลากรที่สอดคล้องกับผลลัพธ์ทางธุรกิจ ล้วนมีส่วนสำคัญต่อความคล่องตัวของทรัพยากรบุคคล ในทางกลับกัน ประสบการณ์ของพนักงานมุ่งเน้นไปที่การเสริมศักยภาพของพนักงานผ่านการสนับสนุน ความโปร่งใส ความไว้วางใจ และการเอาใจใส่

    การสร้างความคล่องตัวในด้านการทำงานของฝ่ายทรัพยากรบุคคลนั้นจพเป็นต้องครอบคลุมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปรับแนวทางปฏิบัติในการจัดการบุคคลากรที่มีความสามารถที่สอดคล้องกับความต้องการและเป้าหมายของธุรกิจ และปรับให้เข้ากับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การดูแลให้ระบบส่งมอบการบริการด้านทรัพยากรบุคคลภายในองค์กรที่มีประสิทธิภาพนั้นเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งสามารถทำได้โดยการเพิ่มความรวดเร็วในการให้บริการและเพิ่มคุณภาพการส่งมอบบริการเหล่านั้นให้ดียิ่งขึ้น การรวมระบบเทคโนโลยีต่างๆให้ทันสมัยช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านทรัพยากรบุคคลและปรับปรุงประสบการณ์ผู้ใช้โดยทั่วไป การสร้างระบบการบริหารงานที่มีความมั่นคงช่วยให้สามารถติดตามและรายงานตัวชี้วัดด้านทรัพยากรบุคคลที่สำคัญซึ่งสอดคล้องกับธุรกิจ ขับเคลื่อนการดำเนินการของผู้มีส่วนร่วมได้อย่างทันท่วงที

    ตัวเร่งปฏิกิริยาในการสร้างประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมของพนักงาน ได้แก่ การช่วยเหลือพนักงานตามความจำเป็น และการจัดหาเครื่องมือที่จำเป็นเพื่อช่วยเหลือตนเอง การให้เครื่องมือแก่พนักงานในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลองค์กรที่เกี่ยวข้อง จัดเตรียมความรู้ที่จำเป็นเพื่อความเป็นเลิศในตำแหน่งปัจจุบัน และ บรรลุเป้าหมาย ปฏิบัติต่อพนักงานด้วยความเคารพ สื่อสารอย่างเปิดเผยกับพวกเขา ทำให้พวกเขารู้สึกได้รับการชื่นชม และอื่นๆ

    กำหนดรูปแบบการดำเนินงานด้านทรัพยากรบุคคลที่เหมาะสมซึ่งขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยี

    งานวิจัยของเราได้ระบุสูตรการปฏิวัติเพื่อเร่งกระบสนการเปลี่ยนแปลงทางด้านทรัพยากรบุคคล: การผสมผสานรูปแบบการดำเนินงานด้านทรัพยากรบุคคลในอุดมคติเข้ากับกลยุทธ์ทางเทคโนโลยีที่แข็งแกร่ง จากการวิเคราะห์ของเรา ผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรบุคคลจะดีกว่าสำหรับองค์กรที่มีรูปแบบการดำเนินงานด้านทรัพยากรบุคคลที่เหมาะสมซึ่งขับเคลื่อนโดยกลยุทธ์ทางเทคโนโลยีที่แข็งแกร่ง

    เพื่อเจาะลึกว่าองค์กรต่างๆ มีความคล่องตัวและประสบการณ์ที่แตกต่างกันอย่างไร เราได้จัดประเภทองค์กรตามระดับความชัดเจนในรูปแบบการดำเนินงานและความแข็งแกร่งของกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยี แต่นั่นเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ของภูเขาน้ำแข็งก้อนโตเท่านั้น

    เราได้แบ่งองค์กรออกเป็นสี่ต้นแบบที่แตกต่างกัน ได้แก่ องค์กรที่ยังไม่มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลง องค์กรที่มีการขับเคลื่อนตามค่าเฉลี่ย องค์กรที่มีความเป็นผู้นำ และองค์กรทางเลือกที่แตกต่าง โดยแต่ละองค์กรจะมีประสบการณ์และความสามารถในการปรับตัวเป็นพิเศษ เป็นการเดินทางที่เริ่มจากการปรับปรุงการกำกับดูแลไปจนถึงการส่งเสริมประสิทธิภาพ การปลดล็อกความเห็นอกเห็นใจ และการใช้เทคโนโลยีเพื่อความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

    dboxon

    ดาวน์โหลดรายงานผลสำรวจ เพื่อดูรูปภาพ

    นอกจากนี้ เรายังถามผู้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับความมั่นใจในปัจจัยทางธุรกิจต่างๆ และผลการวิจัยระบุว่าการเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรบุคคลและผลลัพธ์ทางธุรกิจมีความเชื่อมโยงกันโดยตรง โดย CxO ในองค์กรที่ให้ความสำคัญกับความคล่องตัวและประสบการณ์ของพนักงานจะมั่นใจในผลลัพธ์ของธุรกิจเป็นสองเท่า

    การเปลี่ยนแปลงทางด้านทรัพยากรบุคคลช่วยให้การดำเนินการทางธุรกิจดีขึ้นถึง 2 เท่า

    มีเพียง 20% ของกลุ่มองค์กรที่ยังไม่ปรับตัวแสดงความมั่นใจในการมีแผนกทรัพยากรบุคคลที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และยังได้คะแนนต่ำในตัวชี้วัดทางธุรกิจที่สำคัญอื่นๆ ในอีกด้านหนึ่ง Outliers และ Leaders มีความมั่นใจในความสามารถของ HR ในการสร้างผลลัพธ์ทางธุรกิจในระดับสูง

    คุณต้องการทราบหรือไม่ว่า ณ ตอนนี้นี้องค์กรของคุณถูกจัดอยู่ในกลุ่มองค์กรประเภทใด? ในรายงานฉบับสมบูรณ์ของเรา คุณจะได้รับทราบข้อมูลประเภทกลุ่มองค์กรทั้งหมด รวมไปถึงแนวทางการปรับปรุงพัฒนาสำหรับองค์กรของคุณ และสร้างรูปแบบเฉพาะสู่การเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรบุคคลดาวน์โหลดรายงานผลสำรวจ ตอนนี้เลย!

    หัวใจสู่การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 3 เพื่อความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงทางด้านทรัพยากรบุคคล

    1. ความคล่องตัวของทรัพยากรบุคคล (HR Agility)

    ความคล่องตัวทางด้าน HR สำเร็จได้ด้วยการดำเนินการไม่ใช่เพียงการออกแบบ

    ความคล่องตัวทางด้าน HR จำเป็นต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและตั้งใจ เมื่อเราพิจารณาอย่างใกล้ชิดว่าองค์กรต่างๆ จัดการกับการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เราพบว่าแม้ว่าองค์กรหลายแห่งจะแสดงเจตนารมณ์ที่แข็งแกร่งในการบูรณาการความคล่องตัวในทรัพยากรบุคคล แต่พวกเขาก็ยังขาดการดำเนินการอย่างสม่ำเสมอ

    dboxon

    จากคุณลักษณะทั้ง 22 ประการที่กำหนดลักษณะความคล่องตัว (Agility) เราได้วิเคราะห์ 6 อันดับแรก และ 6 อันดับสุดท้าย ตามความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามโดยการจัดลำดับ แม้ว่าจะมีคุณลักษณะหลายประการที่เชื่อมโยงกับการออกแบบและการเชื่อมโยงกับทิศทางทางด้านธุรกิจ อย่างไรก็ดี จุดอ่อนของ HR คือการนำระบบดิจิทัลมาใช้งาน, การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อบูรณาการโครงการเกี่ยวกับทาเลนท์, การระบุโครงการไว้บนแผนดำเนินงาน, การจัดการการเปลี่ยนแปลง (Change Management) และอื่นๆ

    เพื่อเอาชนะจุดอ่อนนี้ องค์กรต่างๆ ควรเร่งการแปลงกระบวนการเป็นรูปแบบดิจิทัล และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอย่างเหมาะสมที่สุด เพื่อให้ทันกับคู่แข่ง พวกเขายังควรใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อบูรณาการแนวทางการจัดการทาเลนท์เพื่อให้มองเห็นบุคคลเหล่านั้นได้ดียิ่งขึ้น วิธีเดียวที่จะสามารถพัฒนาต่อไปคือ การเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลและขับเคลื่อนการใช้งานเทคโนโลยี ซึ่งปัจจุบัน กลุ่มผู้นำทางด้านธุรกิจเริ่มใช้งานเทคโนโลยีโดยรวมเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ และประสบการณ์ในการทำงานแล้ว

    เปรียบเทียบความคล่อตัวในส่วนงานทรัพยากรบุคคลของคุณกับองค์กรระดับสากล ดาวน์โหลด รายงานผลสำรวจฉบับเต็ม

    2. ประสบการณ์การทำงานของพนักงาน

    ทำให้ช่วงเวลาสำคัญเป็นประสบการณ์เฉพาะตัวไม่ใช่แบบเหมารวม

    ประสบการณ์การทำงานของพนักงานคือ การเชื่อมโยงและเข้าถึงองค์กรผ่านทุกช่วงเวลา และเหตุการณ์ ผลรับของประสบการณ์การทำงานที่ดีคือการให้ความร่วมมือ และการมีส่วนร่วมของพนักงานกับองค์กรองค์กรต่างๆ ได้มีการพัฒนาแผนปฏิบัติการตามการมีส่วนร่วมของพนักงานหรือผลการสำรวจความรู้สึกของพนักงาน (Pulse) มาเป็นระยะเวลาหลายปี จึงเกิดเป็นโซลูชั่นสำหรับพนักงานทุกคน การมอบประสบการณ์แบบเหมารวมสำหรับพนักงานทุกคนเป็นวิธีการเข้าหาพนักงานแบบไร้ประสิทธิภาพ

    เราได้ทำการสำรวจกว่า 1,500 คนจาก 4 เจนเนอเรชั่นที่กำลังมีบทบาทในการทำงานอยู่ในปัจจุบันเกี่ยวกับประสบการณ์ที่พวกเขาได้รับจากองค์กร ซึ่งเราได้สังเกตเห็นถึงความสอดคล้องของประสบการณ์ที่ดีที่พวกเขาได้รับ 6 อันดับแรก และประสบการณ์ใน 6อันดับสุดท้าย เราพบว่าประสบการณ์ที่พนักงานกลุ่มนี้ได้ให้คะแนนเป็น 6 อันดับแรกได้แก่ ความไว้วางใจในองค์กรในการใช้ข้อมูลอย่างมีจริยธรรม การสนับสนุนเรื่องความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน... <<ดาวน์โหลดรายงานผลสำรวจ เพื่อค้นพบคำตอบเพิ่มเติมที่คุณมองหา>>

    ข้อเท็จจริงที่ว่าประสบการณ์ 6 อันดับแรกมีความคล้ายคลึงกันในทุกเจเนอเรชั่น แสดงให้เห็นว่าองค์กรต่างๆ ได้สร้างประสบการณ์ที่คล้ายคลึงกันสำหรับพนักงานทุกคนในแต่ละกลุ่ม ซึ่งนั่นอาจไม่เหมาะกับการพัฒนาบุคลากร

    การระบุ "ช่วงเวลาที่สำคัญ" เป็นแนวทางที่มีประโยชน์ในการเพิ่มความพึงพอใจของพนักงาน ซึ่งควรเกี่ยวข้องกับช่วงเวลาสำคัญที่เป็นเอกลักษณ์ของพนักงานแต่ละคน ในกรณีนี้คือพนักงานในแต่ละช่วงอายุ องค์กรควรปรับเปลี่ยนประสบการณ์ที่เหมาะสมต่อความหลากหลายของบุคลากรตามความเหมาะสมเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

    3. เทคโนโลยี

    เทคโนโลยีมีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับฝ่ายทรัพยากรบุคคล ทั้งยังเป็นปัจจัยที่สามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่คล่องตัวโดยเน้นไปที่การสร้างประสบการณ์ที่ดีแก่พนักงานเป็นหลักได้อย่างง่ายดาย อย่างไรก็ดี แม้ปัจจุบันจะมีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานเป็นระบบดิจิทัล แต่ความพึงพอใจต่อเทคโนโลยีทรัพยากรบุคคลยังคงต่ำ เนื่องจากประสิทธิภาพของเทคโนโลยีทรัพยากรบุคคลไม่เป็นไปตามความคาดหวังขององค์กร การวิเคราะห์ของเราเผยให้เห็น Net Promoter Scores (NPS) ที่หลากหลายในด้านทรัพยากรบุคคล และองค์กรที่แตกต่างกัน ทั้งบริษัทที่ยังไม่มีการปรับตัวไปจนถึงองค์กรระดับผู้นำ ซึ่งยังมีความไม่พึงพอใจต่อเทคโนโลยีอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉลี่ยมีเพียง 9% จากกลุ่มองค์กรที่มีส่วนร่วมในการสำรวจเท่านั้นที่พึงพอใจในเทคโนโลยีทรัพยากรบุคคลของพวกเขา และมีเพียง 30% จากกลุ่มองค์กรระดับผู้นำเท่านั้นที่มีความพึงพอใจ

    ดังนั้นในปัจจุบันองค์กรต่างๆจึงกำลังประเมินกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีของตนใหม่ โดยมุ่งเย้ยการบูรณาการเชิงลึก ซึ่งได้แรงหนุนจากต้นทุนรวมในการจัดการ และความต้องการในการเชื่อมต่อกับพนักงานกลุ่มทาเลนท์ การเปลี่ยนแปลงนี้ไม่เพียงแต่มุ่งเน้นในการปรับปรุงการดำเนินงานด้านทรัพยากรบุคคลเท่านั้น แต่ยังเป็นไปเพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินงาน การเพิ่มการตอบสนอง และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานระบบอีกด้วย

    dboxon

    อย่างไรก็ดีการใช้งานเทคโนโลยีในแต่ละองค์กรก็มีความหลากหลายเป็นอย่างมาก มากกว่าหนึ่งในสามของผู้ตอบแบบสำรวจแทบไม่ได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่มีอยู่อย่างเต็มที่ด้วยซ้ำ แม้แต่ในการปฏิบัติงานขั้นพื้นฐาน อันเป็นพื้นฐานงานด้านทรัพยากรบุคคลก็ตาม ผู้ตอบแบบสอบถามไม่ถึง 20% เท่านั้นที่มีโอกาสเข้าถึงการใช้งานเทคโนโลยีขั้นสูง อาทิ การจัดการประสิทธิภาพการทำงานที่ขับเคลื่อนด้วย AI และบล็อกเชน การจะก้าวเข้ามาเป็นองค์กรระดับผู้นำในการใช้งานเทคโนโลยี ควรเริ่มจากการทำรากฐานการใช้งานเทคโนโลยีในองค์กรให้แข็งแรงเสียก่อนจึงก้าวเข้าสู่ระดับการใช้งานนวัตรกรรม

    ศึกษารายงานผลสำรวจ เพื่อค้นพบข้อมูลเชิงลึกที่จะช่วยให้คุณสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องเทคโนโลยีในองค์กรของคุณได้ดียิ่งขึ้น

    ก้าวสำคัญที่จะนำคุณไปสู่ความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงทางด้าน HR

    การขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรบุคคลไปสู่ความสำเร็จจำเป็นต้องมีการวางแผนและดำเนินการอย่างรอบคอบ เรานำขั้นตอนสำคัญมาให้คุณปฏิบัติตามเพื่อการเปลี่ยนแปลงด้าน HR ที่ประสบความสำเร็จ:

    1. การตระหนักรู้ถึงคุณค่า

    อธิบายเป้าหมายและผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน และจับคู่กับตัวบ่งชี้ความสำเร็จเชิงปริมาณ

    2. วิสัยทัศน์แห่งอนาคต

    พัฒนาวิสัยทัศน์ที่ครอบคลุมการเชื่อมโยงมุมมองของบุคลากร แนวปฏิบัติ และแพลตฟอร์ม

    3. แรงสนับสนุนจากผู้บริหาร

    การเปลี่ยนแปลงจะประสบความสำเร็จได้จำเป็นที่จะต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหาร ทั้งในแง่กลยุทธ์ และความรับผิดชอบร่วมกัน

    4. ประสบการณ์และการริเริ่มการเปลี่ยนแปลง

    การปรับเปลี่ยนกรอบความคิดตั้งแต่เนิ่นๆ สามารถช่วยให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเตรียมความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงอย่างสร้างสรรค์และทันท่วงที

    ดาวน์โหลดรายงานผลสำรวจ เพื่ออ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

    มุ่งสู่อนาคต

    การเปลี่ยนแปลงในองค์กรยุคใหม่ก็เหมือนกับการเล่นเกมที่กฎเกณฑ์เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ แต่อย่างไรคุณก็ต้องเล่นเกมนี้ คุณต้องปรับตัวและพัฒนาเพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จ จากการศึกษานี้ เราได้ประเมินเส้นทางวิวัฒนาการของทรัพยากรบุคคล และวิธีที่บริษัทต่างๆ นำความต้องการทางด้านความคล่องตัวทางธุรกิจ และประสบการณ์ของพนักงานเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารจัดการบุคลากร

    รายงานดังกล่าวให้ข้อมูลเชิงลึกที่น่าสนใจเกี่ยวกับอนาคตของการเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรบุคคลในตลาดที่โดดเด่นด้วยการเปลี่ยนแปลงกะทันหันและความคาดหวังที่เปลี่ยนไป ผลลัพธ์ชี้ให้เห็นว่าองค์กรต่างๆ ต้องเริ่มต้นบนเส้นทางแห่งการเปลี่ยนแปลงด้วยการส่งเสริมความคล่องตัวและปรับปรุงประสบการณ์ของพนักงาน การเจาะลึกการศึกษานี้ คุณจะได้รับข้อมูลเชิงลึกว่าผู้นำทางด้านทรัพยากรบุคคลในอุตสาหกรรมต่างๆ ดำเนินการเพื่อองค์กรของตนอย่างไร ทั้งยังสามารถเปรียบเทียบระดับขององค์กรของคุณกับระดับมาตรฐานในอุตสาหกรรมธุรกิจ ทั้งยังมองเห็นเส้นทางการพัฒนาที่เป็นเอกลักษณ์ของคุณเอง

    แล้วคุณกำลังรออะไรอยู่? เริ่มดำเนินการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ตอนนี้เพื่อความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงทางด้านทรัพยากรบุคคลขององค์กรของคุณให้เหนือกว่าคู่แข่งทุกคน

    ดาวน์โหลดรายงานผลสำรวจฉบับเต็ม

    View all posts

    Stay Updated

    สื่อสารกับเรา

    GartnerBlogStrip23

    Subscribe and stay up to date