Darwinbox Blog - HR Technology | HR Trends | HR Tips

การริเริ่มสู่เส้นทางการเปลี่ยนแปลงของระบบทรัพยากรบุคคลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก: มุมมองของวิวัฒนาการของการเปลี่ยนแปลงของระบบทรัพยากรบุคคลในปี 2023

Written by Shreya Srivastava | 13 December, 2023 10:19:53 AM Z

รายงานผลสำรวจ และศึกษาที่ใหญ่ที่สุดใน APAC ได้เปิดเผยว่าผู้นำทางด้านทรัพยากรบุคคลระดับภูมิภาคให้ความสำคัญในการกำหนดทิศทาง และรูปแบบทางธุรกิอย่างไรเมื่อกำลังเผชิญหน้ากับความไม่แน่นอน และการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่มาในรูปแบบของ AI และวิวัฒนาการในการขับเคลื่อนธุรกิจด้วยเทคโนโลยี เราพร้อมที่จะแบ่งปันข้อมูลเชิงลึกจากผลการสำรวจนี้ ที่มุ่งประเด็นศึกษาไปที่การจัดเรียงลำดัความสำคัญของตัวแปลต่างๆทางด้าน HR ที่จะนำองค์กรก้าวไปสู่ความสำเร็จ

Perspectives: เบื้องหลังการทำงาน

เมื่อต้นปี 2023 ที่ผ่านมา ได้มีความเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อความไม่แน่นอนและทำให้กระบวนการทำงานต่างๆนั้นได้หยุดชะงัก เช่น การเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมือง เศษฐกิจที่ตกต่ำลง แนวโน้มของภาวะถดภอย และพลังของระบบ AI ที่เข้ามาทำให้เปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ของผู้มีความสามารถในการทำงาน ท่ามกลางความสับสนวุ่นวายนี้ มีสิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงจนเกิดความชัดเจนมากขึ้น นั่นคือ การทำงานของฝ่ายทรัพยากรบุคคล ซึ่งทำหน้าที่เป็นแนวหน้าขององค์กรเพื่อช่วยให้องค์กรสามารถอยู่รอดและเจริญเติบโตในโลกแห่งการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไป

อ่านรายงาน HR Evolution Perspectives – การวิจัยสำรวจที่เป็นผลมาจากการที่หลายๆองค์กรได้ตระหนักถึงความจำเป็นในการเปิดเผยถึงความเปลี่ยนแปลงของธุรกิจและภูมิทัศน์ของบุคลากรที่ได้เปลี่ยนแปลงไปนั้นทำให้เปลี่ยนบทบาทและการทำงาน ความพร้อมของฝ่ายทรัพยากรบุคคลได้อย่างไร ในขณะที่ในภูมิภาคที่เอเชียนั้น ได้เปิดรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมการทำงานนั้น จุดสำคัญของจุดนี้อยู่ที่การทำความเข้าใจว่าผู้นำฝ่ายทรัพยากรบุคคลในภูมิภาคนั้นจะสามารถนำองค์กรผ่านการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้อย่างไรเพื่อบุกเบิกเส้นทางใหม่สู่การเปลี่ยนแปลงในการทำงานในปัจจุบัน

Darwinbox ได้ร่วมมือกับ People Matters ในการทำสำรวจทั่วเอเชียแปซิฟิก โดยทำการรวบรวมข้อมูลเชิกลึกจาก CxO กว่า 350 รายและพนักงานกว่า 1,500 รายจากองค์กร 1,200 องค์กรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อินเดีย และ MENA การวิจัยของเราได้รับแรงหนุนจากสมมติฐานพื้นฐานสองข้อ

1. บทบาทความรับผิดชอบของ HR

จากการพัฒนาธุรกิจในยุคปัจจุบัน ฝ่ายทรัพยากรบุคคลนั้นมีความจำเป็นที่จะต้องตอบสนองต่อความต้องการทางธุรกิจมากยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันนั้น พวกเขายังต้องสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับพนักงานเพื่อตอบสนองต่อความต้องการที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาของพวกเขา

2. ตัวเร่งปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี

เทคโนโลยี่ซึ่งเป็นผู้เปลี่ยนแปลงเกมของธุรกิจ พร้อมที่จะมีบทบาทสำคัญในการเร่งการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการเปลี่ยนแปลงต่างๆ

ลองมาทำความเข้าใจกับข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญบางส่วนที่ค้นพบจาก รายงานผลสำรวจ.

สำรวจภูมิทัศน์การเติบโตของธุรกิจในเอเชีย: กลยุทธ์และเทรนด์ต่างๆ

ท่ามกลางความท้าทายที่เริ่มต้นมากจากการเปลี่ยนแปลงของเศษฐกิจโลก เอเชียนั้นได้กลายเป็นจุดยุธศาสตร์สำคัญ ถึงแม้ว่าจะมีอุปสรรคต่างๆ เช่น นโยบายการเงินใหม่ อัตราดอกเบี้ย และความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ นอกจากนี้แล้ว IMF ได้คาดการณ์ไว้ว่า การเติบโตในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกจะเพิ่มขึ้นเป็น 4.6% ในปี 2566 จาก 3.8% ในปี 2564

กลยุทธ์ในการเติบโตที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของเอเชีย ที่ไม่เพียงแต่เน้นในการทำกำไรเพิ่มและผลผลิตที่มากขึ้นเท่านั้น แต่ยังมุ่งเน้นไปที่แนวทางการเติบโตอย่างยั่งยืนมากขึ้น:

1. แนวทางการเติบโตแบบองค์รวมของเอเชีย

กลยุทธ์การเติบโตในภูมิภาคเอเชียที่ขับเคลื่อนโดยใช้กลยุทธ์ที่เน้นนวัตกรรม เช่น การเคลื่อนไหว "Go Local" และการเสริมสร้างความเข้มแข็งของการเชื่อมโยงทางการค้าในระดับภูมิภาค แต่ก็มุ่งเน้นไปที่การเติบโตที่ยั่งยืนไม่แพ้กัน นอกเหนือจากอัตรากำไรและผลผลิตที่สูงขึ้น

2. ข้อมูลเชิงลึกของ CxO เกี่ยวกับการเติบโต

รายงานส่วนใหญ่จากการสำรวจของ CxO จำนวน 350 รายนั้นได้คาดการณ์ว่าในอีกสองถึงสามปีข้างหน้านั้น กลยุทธ์ ""Go Local"" และผลกระทบที่เพิ่มขึ้นของกลุ่ม Gen Z ในด้านแรงงาน และนำไปสู่รายได้ที่มากขึ้น การขยายตัวตามธรรมชาติ และการควบรวมกิจการ (Mergers & Acquisitions)

3. การสร้างสมดุลระหว่างการทำงานที่ประสิทธิภาพและความยั่งยืน

ในขณะที่ 58% ของ CxO คาดหวังความสามารถในการทำกำไรที่สูงขึ้น แต่ 18% กำลังวางแผนที่จะปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตโดยไม่ต้องเพิ่มจำนวนพนักงาน เป้าหมายในการเพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพของพนักงานปัจจุบันให้สูงที่สุด โดยที่นวัตกรรมในยุคดิจิทัลและการมุ่งเน้นในเรื่องการทำงานแบบยั่งยืนกลายเป็นตัวกำหนดกลยุทธ์ในการทำงาน โดยมีความมุ่งมั่นในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้สุทธิกลายเป็นศูนย์ และให้ความสำคัญกับเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) มากขึ้น

การนำเส้นทางธุรกิจผ่านการแข่งขันทางด้านทาเลนท์ ท่ามกลางการเติบโตอย่างรวดเร็วของเอเชีย

ในขณะที่เอเชียนั้นกำลังอยู่บนเส้นทางการเติบโตทางด้านธุรกิจอย่างรวดเร็วนั้น ความท้าทายด้านบุคลากรที่พบเจอนั้น ส่งผลให้องค์กรต่างๆไม่ทันได้ระวังตัวกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ การเติบโตที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วนั้นเผยให้เห็นปัญหาทางด้านการเงินขององค์กร ความสามารถ และนวัตกรรมที่ใช้ภายในองค์กร ทำให้ CxO ที่ได้รับการสำรวจที่มากกว่า 350 รายไม่แน่ใจเกี่ยวกับความพร้อมของพวกเขาสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นนี้ ด้วยข้อมูลเชิงลึกที่เน้นย้ำเกี่ยวกับนวัตกรรมที่ก้าวไปอย่างรวดเร็วและแผนการเติบโตขององค์กรที่ไม่เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ซึ่งสร้างความเสี่ยงและไม่ไว้วางใจให้กับบุคลากรที่มีความสามารถ

ข้อมูลเน้นให้เห็นถึงความเสี่ยงต่างๆและถือว่ามีความเสี่ยงเป็นอันดับต้นๆ มีดังต่อไปนี้: การพัฒนาขีดความสามารถในบทบาทที่สำคัญ (63%) การเปิดรับโมเดลงานดิจิทัลใหม่ๆ (49%) กระบวนการเป็นผู้นำที่ไม่เพียงพอ และต้นทุนบุคลากรที่เพิ่มขึ้น (44%) ช่องโหว่นี้เกิดจากช่องว่างระหว่างผลกระทบความเสี่ยงและความพร้อมขององค์กร เมื่อวางแผนกลยุทธ์องค์กรและบุคลากร CxO ต้องพิจารณาความจำเป็นบางประการ:

1. การเป็นผู้นำและการกำหนดรูปแบบการทำงาน

ปลูกฝังความเป็นผู้นำ รักษาสมดุลของต้นทุน ดึงดูดบุคลากรที่มีความสามารถ และชี้แนะให้พนักงานทั้งหมดมีส่วนร่วมและมีจุดหมายในการทำงานท่ามกลางความไม่แน่นอน

2. ติดตามปัญหาหารขาดแคลนทักษะที่มีอยู่ตลอดเวลา

ระบุ ปรับใช้ และส่งเสริมทักษะอย่างรวดเร็ว หลุดพ้นจากการขาดแคลนทักษะอย่างถาวร

3. ความพยายามในการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปอย่างยั่งยืน

ส่งเสริมนวัตกรรมใหม่ๆในการทำงาน การจัดการความเสี่ยงของภาวะ Burnout และรับรองว่าพนักงานที่มีส่วนร่วมจะยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างราบรื่น

การสำรวจความคาดหวังของพนักงานที่เปลี่ยนแปลงไป

ในสถานการณ์ปัจจุบัน พนักงานมีอิทธิพลมากขึ้นในสถานที่ทำงาน ทำให้เกิดความท้าทายมากมาย การหมุนเวียนอย่างรวดเร็วและการแข่งขันด้านความสามารถอันดุเดือดเกิดขึ้นพร้อมกัน เป้าหมายด้านผลิตภาพและความเหนื่อยหน่ายก็เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน แนวโน้มเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จาก ""การลาออกครั้งใหญ่"" เป็น ""การลาออกอย่างเงียบๆ ไปสู่ ""การจ้างงานอย่างเงียบๆ"" ซึ่งเรียกร้องให้มีการปรับตัว ในสถานการณ์นี้ CxO เผชิญกับความท้าทายสองประการ: การปรับองค์กรให้สอดคล้องกับความคาดหวังของพนักงานแบบไดนามิก ในขณะเดียวกันก็จัดการต้นทุน ส่งเสริมนวัตกรรม และขับเคลื่อนการเติบโต พลวัตนี้เพิ่มความจำเป็นสำหรับกลยุทธ์ที่สามารถสร้างสมดุลระหว่างลำดับความสำคัญทั้งสองนี้เพื่อผลลัพธ์ที่ดีทั้งในด้านธุรกิจและพนักงาน

จากการวิจัยข้อมูลเชิงลึกจากพนักงานมากกว่า 1,500 คน CxO นั้นจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับความต้องการของพนักงานให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งหมายถึงการเข้าใจถึงสิ่งที่ขับเคลื่อนการทำงานของพวกเขา เช่น การเห็นคุณค่าของความสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวและการทำงาน (54%) การตระหนักถึงความเป็นผู้นำที่มีความแข็งแกร่ง (52%) และการเปิดรับสิ่งที่เน้นถึงจุดมุ่งหมายของการทำงาน (46%) ข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้แนะนำองค์กรในการดูแลทั้งบุคลากรและเป้าหมายทางธุรกิจในเวลาเดียวกัน

 

แนวโน้มการพัฒนาความคาดหวังของพนักงาน

1. ความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงานที่เป็นความคาดหวังอันดับต้น

การมีสมดุลระหว่างการใช้ชีวิตส่วนตัวและการทำงานในแต่ละวันนั้นเป็นตัวแปรสำคัญเมื่อพนักงานจำเป็นจะต้องพิจารณาเมื่อถึงเวลาที่พวกเขาต้องประเมิณนายจ้าง การมีความยืดหยุ่นในการทำงานหมายถึงการมีอิสระในเวลาการทำงานของพวกเขา ในขณะที่การรักษาสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวและชีวิตการทำงานของพนักงานนั้นจะต้องมีความสมดุลให้เท่ากัน ทั้งสองข้อนั้นมีความสำคัญอย่างมากต่อการทำงานของพนักงานที่มีประสิทธิภาพสูง และความแตกต่างเหล่านี้ก็เป็นประเด็นสำคัญที่ CxO จำเป็นต้องทำความเข้าใจด้วย

2. ความคาดหวังเกี่ยวกับการเป็นผู้นำที่ดีมีความสำคัญเป็นอันดับต้น

ในสภาพแวดล้อมการทำงานที่เป็นการทำงานแบบ Hybrid นั้น พนักงานส่วนใหญ่ล้วนมองหาความเป็นผู้นำในตัวหัวหน้างานของพวกเขา และยังต้องมีวัตถุประสงค์ร่วมกันที่นอกเหนือไปมากกว่าเรื่องการทำงาน ท่ามกลางแรงกดดันที่มีอยู่มากมายทางด้านธุรกิจและความคลุมเครือ พวกเขานั้นจำเป็นต้องมีความเข้าใจและการสนับสนุนทั้งเรื่องความรู้สึก ทางด้านจิตใจ และความสมเหตุสมผลทั้งในเรื่องผลงานและชีวิตการทำงานของพวกเขา

3. ความคาดหวังที่เพิ่มขึ้นในเรื่องรายได้ที่ดีขึ้น สิทธิประโยชน์ และการเปลี่ยนแปลงการทำงานสู่ระบบดิจิทัลที่ดีขึ้น

การทำงานในระบบ Hybrid นั้นได้ทำการขับเคลื่อนความคาดหวังสำหรับการทำงานร่วมกันระหว่างแผนกในองค์กรโดยที่มีเทคโนโลยีเข้ามาช่วย การที่พนักงานแต่ละคนนั้นไม่จำเป็นจะต้องเข้าทำงานที่สำนักงานและให้พวกเขามุ่งเน้นไปที่ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจะช่วยให้ยกระดับความคาดหวังในการได้รายได้ที่ดียิ่งขึ้น รวมไปถึงเรื่องสิทธิประโยชน์ และการเปลี่ยนแปลงการทำงานสู่ระบบดิจิทัลที่ดีขึ้น

พลิกโฉมระบบการทำงานของทีมทรัพยากรบุคคลในเอเชีย

ประสบการณ์ของพนักงานที่กลายเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด

ในปี 2023 การเปลี่ยนแปลงในการทำงานของแผนกทรัพยากรบุคคลนั้นกลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมาก นี่เป็นเพราะการตระหนักถึงการมีบทบาทในความสามารถขององค์กรที่จะแข่งขันกับคู่แข่งในตลาดได้ ในขณะเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงของแผนกทรัพยากรนั้นเป็นกระบวนการที่กำลังดำเนินอยู่ โดยที่ผู้นำฝ่ายทรัพยากรบุคคลนั้นจำเป็นต้องให้ความสนใจและบรรลุความเป็นเลิศในการปฏิบัติงานและอิทธิพลเชิงกลยุทธ์ของการทำงานของพนักงาน ในอดีต การเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรบุคคลซึ่งเน้นไปที่การลดต้นทุนและการขยายบริการมักจะล้มเหลวเนื่องจากพนักงานส่วนใหญ่มักจะต่อต้านการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้น ด้วยการเปลี่ยนแปลงของความคาดหวังในการทำงาน ฝ่ายทรัพยากรบุคคลจำเป็นต้องขับเคลื่อนองค์กรทั้งในเรื่องประสิทธิภาพในการให้การบริการตามระดับสายงานเท่านั้น แต่ยังต้องมีประสิทธิภาพในการบรรลุความสามารถและผลลัพธ์ทางธุรกิจด้วย

การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่ปรากฏเห็นได้ชัดคือ ประสบการณ์ของพนักงานถูกกำหนดให้เป็นศูนย์กลางในการเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรบุคคล ขณะใน 2 ใน 3 ขององค์กรนั้นได้เริ่มให้ความสำคัญกับการยกระดับประสบการณ์ของการทำงานของพนักงานซึ่งเป็นที่น่าประทับใจอย่างมาก เทียบกับเพียง 1 ใน 3 ที่มีความคาดหวังเกี่ยวกับการปรับปรุงคุณภาพการบริการด้านทรัพยากรบุคคลที่ดีขึ้น (63%) เพิ่มศักยภาพให้กับผู้จัดการและพนักงาน (59%) และตอบสนองความต้องการทางธุรกิจในเชิงรุก (52%)

ส่งเสริมพลังการเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรบุคคลที่ผลกระทบอย่างรุนแรง

ความคล่องตัวของทรัพยากรบุคคลและประสบการณ์ของพนักงานกลายเป็นเสาหลักสองประการ

ความคาดหวังจากฝ่ายทรัพยากรบุคคลที่กำลังมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และการตอบรับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ที่ยึดหลักแนวทางการเปลี่ยนจาก ""ภายนอก สู่ภายใน"" ซึ่งมุมมองนี้มีปัจจัยสำคัญสองประการคือ "ความคล่องตัวของทรัพยากรบุคคล" และ "ประสบการณ์การทำงานของพนักงาน"

ความคล่องตัวของทรัพยากรบุคคล (HR Agility)

ความสามารถของการรับมือของฝ่ายทรัพยากรบุคคลในการรับรู้และตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของแนวทางปฏิบัติที่เชื่อมโยงการทำงานของพนักงานในองค์กรให้เชื่อมต่อกันได้ดีและการกำกับดูแลฝ่ายต่างๆที่มีความเข้มแข็ง

ประสบการณ์การทำงานของพนักงาน

ความสามารถขององค์กรในการพัฒนาพนักงานโดยการสนับสนุนการเติบโตของพนักงาน โปร่งใสกับพนักงานทุกคน สร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน และมีความเห็นใจกับทุกคน

ประสบการณ์ทำงานของพนักงานนนั้นส่งผลให้วิธีการการมองความสัมพันธ์ของพวกเขากับองค์กร ในขณะที่ยังคงความคล่องตัวของทรัพยากรบุคคลช่วยให้องค์กรและพนักงานสามารถปรับตัวเข้ากับเงื่อนไขทางธุรกิจที่เพิ่มมากขึ้นได้อย่างรวดเร็ว องค์ประกอบเหล่านี้ทำให้การทำงานร่วมกันเพื่อสร้างกลยุทธ์ด้านกำลังคนนั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น แสดงให้เราได้เห็นการปกครองที่ดี, การบริการที่เป็นเลิศ และแนวปฏิบัติด้านบุคลากรที่สอดคล้องกับผลลัพธ์ทางธุรกิจ ล้วนมีส่วนสำคัญต่อความคล่องตัวของทรัพยากรบุคคล ในทางกลับกัน ประสบการณ์ของพนักงานมุ่งเน้นไปที่การเสริมศักยภาพของพนักงานผ่านการสนับสนุน ความโปร่งใส ความไว้วางใจ และการเอาใจใส่

การสร้างความคล่องตัวในด้านการทำงานของฝ่ายทรัพยากรบุคคลนั้นจพเป็นต้องครอบคลุมในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปรับแนวทางปฏิบัติในการจัดการบุคคลากรที่มีความสามารถที่สอดคล้องกับความต้องการและเป้าหมายของธุรกิจ และปรับให้เข้ากับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การดูแลให้ระบบส่งมอบการบริการด้านทรัพยากรบุคคลภายในองค์กรที่มีประสิทธิภาพนั้นเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งสามารถทำได้โดยการเพิ่มความรวดเร็วในการให้บริการและเพิ่มคุณภาพการส่งมอบบริการเหล่านั้นให้ดียิ่งขึ้น การรวมระบบเทคโนโลยีต่างๆให้ทันสมัยช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านทรัพยากรบุคคลและปรับปรุงประสบการณ์ผู้ใช้โดยทั่วไป การสร้างระบบการบริหารงานที่มีความมั่นคงช่วยให้สามารถติดตามและรายงานตัวชี้วัดด้านทรัพยากรบุคคลที่สำคัญซึ่งสอดคล้องกับธุรกิจ ขับเคลื่อนการดำเนินการของผู้มีส่วนร่วมได้อย่างทันท่วงที

ตัวเร่งปฏิกิริยาในการสร้างประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมของพนักงาน ได้แก่ การช่วยเหลือพนักงานตามความจำเป็น และการจัดหาเครื่องมือที่จำเป็นเพื่อช่วยเหลือตนเอง การให้เครื่องมือแก่พนักงานในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลองค์กรที่เกี่ยวข้อง จัดเตรียมความรู้ที่จำเป็นเพื่อความเป็นเลิศในตำแหน่งปัจจุบัน และ บรรลุเป้าหมาย ปฏิบัติต่อพนักงานด้วยความเคารพ สื่อสารอย่างเปิดเผยกับพวกเขา ทำให้พวกเขารู้สึกได้รับการชื่นชม และอื่นๆ

กำหนดรูปแบบการดำเนินงานด้านทรัพยากรบุคคลที่เหมาะสมซึ่งขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยี

งานวิจัยของเราได้ระบุสูตรการปฏิวัติเพื่อเร่งกระบสนการเปลี่ยนแปลงทางด้านทรัพยากรบุคคล: การผสมผสานรูปแบบการดำเนินงานด้านทรัพยากรบุคคลในอุดมคติเข้ากับกลยุทธ์ทางเทคโนโลยีที่แข็งแกร่ง จากการวิเคราะห์ของเรา ผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรบุคคลจะดีกว่าสำหรับองค์กรที่มีรูปแบบการดำเนินงานด้านทรัพยากรบุคคลที่เหมาะสมซึ่งขับเคลื่อนโดยกลยุทธ์ทางเทคโนโลยีที่แข็งแกร่ง

เพื่อเจาะลึกว่าองค์กรต่างๆ มีความคล่องตัวและประสบการณ์ที่แตกต่างกันอย่างไร เราได้จัดประเภทองค์กรตามระดับความชัดเจนในรูปแบบการดำเนินงานและความแข็งแกร่งของกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยี แต่นั่นเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ของภูเขาน้ำแข็งก้อนโตเท่านั้น

เราได้แบ่งองค์กรออกเป็นสี่ต้นแบบที่แตกต่างกัน ได้แก่ องค์กรที่ยังไม่มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลง องค์กรที่มีการขับเคลื่อนตามค่าเฉลี่ย องค์กรที่มีความเป็นผู้นำ และองค์กรทางเลือกที่แตกต่าง โดยแต่ละองค์กรจะมีประสบการณ์และความสามารถในการปรับตัวเป็นพิเศษ เป็นการเดินทางที่เริ่มจากการปรับปรุงการกำกับดูแลไปจนถึงการส่งเสริมประสิทธิภาพ การปลดล็อกความเห็นอกเห็นใจ และการใช้เทคโนโลยีเพื่อความคิดสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ดาวน์โหลดรายงานผลสำรวจ เพื่อดูรูปภาพ

นอกจากนี้ เรายังถามผู้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับความมั่นใจในปัจจัยทางธุรกิจต่างๆ และผลการวิจัยระบุว่าการเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรบุคคลและผลลัพธ์ทางธุรกิจมีความเชื่อมโยงกันโดยตรง โดย CxO ในองค์กรที่ให้ความสำคัญกับความคล่องตัวและประสบการณ์ของพนักงานจะมั่นใจในผลลัพธ์ของธุรกิจเป็นสองเท่า

การเปลี่ยนแปลงทางด้านทรัพยากรบุคคลช่วยให้การดำเนินการทางธุรกิจดีขึ้นถึง 2 เท่า

มีเพียง 20% ของกลุ่มองค์กรที่ยังไม่ปรับตัวแสดงความมั่นใจในการมีแผนกทรัพยากรบุคคลที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และยังได้คะแนนต่ำในตัวชี้วัดทางธุรกิจที่สำคัญอื่นๆ ในอีกด้านหนึ่ง Outliers และ Leaders มีความมั่นใจในความสามารถของ HR ในการสร้างผลลัพธ์ทางธุรกิจในระดับสูง

คุณต้องการทราบหรือไม่ว่า ณ ตอนนี้นี้องค์กรของคุณถูกจัดอยู่ในกลุ่มองค์กรประเภทใด? ในรายงานฉบับสมบูรณ์ของเรา คุณจะได้รับทราบข้อมูลประเภทกลุ่มองค์กรทั้งหมด รวมไปถึงแนวทางการปรับปรุงพัฒนาสำหรับองค์กรของคุณ และสร้างรูปแบบเฉพาะสู่การเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรบุคคลดาวน์โหลดรายงานผลสำรวจ ตอนนี้เลย!

หัวใจสู่การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ 3 เพื่อความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงทางด้านทรัพยากรบุคคล

1. ความคล่องตัวของทรัพยากรบุคคล (HR Agility)

ความคล่องตัวทางด้าน HR สำเร็จได้ด้วยการดำเนินการไม่ใช่เพียงการออกแบบ

ความคล่องตัวทางด้าน HR จำเป็นต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องและตั้งใจ เมื่อเราพิจารณาอย่างใกล้ชิดว่าองค์กรต่างๆ จัดการกับการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เราพบว่าแม้ว่าองค์กรหลายแห่งจะแสดงเจตนารมณ์ที่แข็งแกร่งในการบูรณาการความคล่องตัวในทรัพยากรบุคคล แต่พวกเขาก็ยังขาดการดำเนินการอย่างสม่ำเสมอ

จากคุณลักษณะทั้ง 22 ประการที่กำหนดลักษณะความคล่องตัว (Agility) เราได้วิเคราะห์ 6 อันดับแรก และ 6 อันดับสุดท้าย ตามความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามโดยการจัดลำดับ แม้ว่าจะมีคุณลักษณะหลายประการที่เชื่อมโยงกับการออกแบบและการเชื่อมโยงกับทิศทางทางด้านธุรกิจ อย่างไรก็ดี จุดอ่อนของ HR คือการนำระบบดิจิทัลมาใช้งาน, การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อบูรณาการโครงการเกี่ยวกับทาเลนท์, การระบุโครงการไว้บนแผนดำเนินงาน, การจัดการการเปลี่ยนแปลง (Change Management) และอื่นๆ

เพื่อเอาชนะจุดอ่อนนี้ องค์กรต่างๆ ควรเร่งการแปลงกระบวนการเป็นรูปแบบดิจิทัล และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอย่างเหมาะสมที่สุด เพื่อให้ทันกับคู่แข่ง พวกเขายังควรใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อบูรณาการแนวทางการจัดการทาเลนท์เพื่อให้มองเห็นบุคคลเหล่านั้นได้ดียิ่งขึ้น วิธีเดียวที่จะสามารถพัฒนาต่อไปคือ การเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลและขับเคลื่อนการใช้งานเทคโนโลยี ซึ่งปัจจุบัน กลุ่มผู้นำทางด้านธุรกิจเริ่มใช้งานเทคโนโลยีโดยรวมเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ และประสบการณ์ในการทำงานแล้ว

เปรียบเทียบความคล่อตัวในส่วนงานทรัพยากรบุคคลของคุณกับองค์กรระดับสากล ดาวน์โหลด รายงานผลสำรวจฉบับเต็ม

2. ประสบการณ์การทำงานของพนักงาน

ทำให้ช่วงเวลาสำคัญเป็นประสบการณ์เฉพาะตัวไม่ใช่แบบเหมารวม

ประสบการณ์การทำงานของพนักงานคือ การเชื่อมโยงและเข้าถึงองค์กรผ่านทุกช่วงเวลา และเหตุการณ์ ผลรับของประสบการณ์การทำงานที่ดีคือการให้ความร่วมมือ และการมีส่วนร่วมของพนักงานกับองค์กรองค์กรต่างๆ ได้มีการพัฒนาแผนปฏิบัติการตามการมีส่วนร่วมของพนักงานหรือผลการสำรวจความรู้สึกของพนักงาน (Pulse) มาเป็นระยะเวลาหลายปี จึงเกิดเป็นโซลูชั่นสำหรับพนักงานทุกคน การมอบประสบการณ์แบบเหมารวมสำหรับพนักงานทุกคนเป็นวิธีการเข้าหาพนักงานแบบไร้ประสิทธิภาพ

เราได้ทำการสำรวจกว่า 1,500 คนจาก 4 เจนเนอเรชั่นที่กำลังมีบทบาทในการทำงานอยู่ในปัจจุบันเกี่ยวกับประสบการณ์ที่พวกเขาได้รับจากองค์กร ซึ่งเราได้สังเกตเห็นถึงความสอดคล้องของประสบการณ์ที่ดีที่พวกเขาได้รับ 6 อันดับแรก และประสบการณ์ใน 6อันดับสุดท้าย เราพบว่าประสบการณ์ที่พนักงานกลุ่มนี้ได้ให้คะแนนเป็น 6 อันดับแรกได้แก่ ความไว้วางใจในองค์กรในการใช้ข้อมูลอย่างมีจริยธรรม การสนับสนุนเรื่องความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน... <<ดาวน์โหลดรายงานผลสำรวจ เพื่อค้นพบคำตอบเพิ่มเติมที่คุณมองหา>>

ข้อเท็จจริงที่ว่าประสบการณ์ 6 อันดับแรกมีความคล้ายคลึงกันในทุกเจเนอเรชั่น แสดงให้เห็นว่าองค์กรต่างๆ ได้สร้างประสบการณ์ที่คล้ายคลึงกันสำหรับพนักงานทุกคนในแต่ละกลุ่ม ซึ่งนั่นอาจไม่เหมาะกับการพัฒนาบุคลากร

การระบุ "ช่วงเวลาที่สำคัญ" เป็นแนวทางที่มีประโยชน์ในการเพิ่มความพึงพอใจของพนักงาน ซึ่งควรเกี่ยวข้องกับช่วงเวลาสำคัญที่เป็นเอกลักษณ์ของพนักงานแต่ละคน ในกรณีนี้คือพนักงานในแต่ละช่วงอายุ องค์กรควรปรับเปลี่ยนประสบการณ์ที่เหมาะสมต่อความหลากหลายของบุคลากรตามความเหมาะสมเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

3. เทคโนโลยี

เทคโนโลยีมีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับฝ่ายทรัพยากรบุคคล ทั้งยังเป็นปัจจัยที่สามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่คล่องตัวโดยเน้นไปที่การสร้างประสบการณ์ที่ดีแก่พนักงานเป็นหลักได้อย่างง่ายดาย อย่างไรก็ดี แม้ปัจจุบันจะมีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานเป็นระบบดิจิทัล แต่ความพึงพอใจต่อเทคโนโลยีทรัพยากรบุคคลยังคงต่ำ เนื่องจากประสิทธิภาพของเทคโนโลยีทรัพยากรบุคคลไม่เป็นไปตามความคาดหวังขององค์กร การวิเคราะห์ของเราเผยให้เห็น Net Promoter Scores (NPS) ที่หลากหลายในด้านทรัพยากรบุคคล และองค์กรที่แตกต่างกัน ทั้งบริษัทที่ยังไม่มีการปรับตัวไปจนถึงองค์กรระดับผู้นำ ซึ่งยังมีความไม่พึงพอใจต่อเทคโนโลยีอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉลี่ยมีเพียง 9% จากกลุ่มองค์กรที่มีส่วนร่วมในการสำรวจเท่านั้นที่พึงพอใจในเทคโนโลยีทรัพยากรบุคคลของพวกเขา และมีเพียง 30% จากกลุ่มองค์กรระดับผู้นำเท่านั้นที่มีความพึงพอใจ

ดังนั้นในปัจจุบันองค์กรต่างๆจึงกำลังประเมินกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีของตนใหม่ โดยมุ่งเย้ยการบูรณาการเชิงลึก ซึ่งได้แรงหนุนจากต้นทุนรวมในการจัดการ และความต้องการในการเชื่อมต่อกับพนักงานกลุ่มทาเลนท์ การเปลี่ยนแปลงนี้ไม่เพียงแต่มุ่งเน้นในการปรับปรุงการดำเนินงานด้านทรัพยากรบุคคลเท่านั้น แต่ยังเป็นไปเพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินงาน การเพิ่มการตอบสนอง และพัฒนาประสบการณ์การใช้งานระบบอีกด้วย

อย่างไรก็ดีการใช้งานเทคโนโลยีในแต่ละองค์กรก็มีความหลากหลายเป็นอย่างมาก มากกว่าหนึ่งในสามของผู้ตอบแบบสำรวจแทบไม่ได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่มีอยู่อย่างเต็มที่ด้วยซ้ำ แม้แต่ในการปฏิบัติงานขั้นพื้นฐาน อันเป็นพื้นฐานงานด้านทรัพยากรบุคคลก็ตาม ผู้ตอบแบบสอบถามไม่ถึง 20% เท่านั้นที่มีโอกาสเข้าถึงการใช้งานเทคโนโลยีขั้นสูง อาทิ การจัดการประสิทธิภาพการทำงานที่ขับเคลื่อนด้วย AI และบล็อกเชน การจะก้าวเข้ามาเป็นองค์กรระดับผู้นำในการใช้งานเทคโนโลยี ควรเริ่มจากการทำรากฐานการใช้งานเทคโนโลยีในองค์กรให้แข็งแรงเสียก่อนจึงก้าวเข้าสู่ระดับการใช้งานนวัตรกรรม

ศึกษารายงานผลสำรวจ เพื่อค้นพบข้อมูลเชิงลึกที่จะช่วยให้คุณสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องเทคโนโลยีในองค์กรของคุณได้ดียิ่งขึ้น

ก้าวสำคัญที่จะนำคุณไปสู่ความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงทางด้าน HR

การขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรบุคคลไปสู่ความสำเร็จจำเป็นต้องมีการวางแผนและดำเนินการอย่างรอบคอบ เรานำขั้นตอนสำคัญมาให้คุณปฏิบัติตามเพื่อการเปลี่ยนแปลงด้าน HR ที่ประสบความสำเร็จ:

1. การตระหนักรู้ถึงคุณค่า

อธิบายเป้าหมายและผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน และจับคู่กับตัวบ่งชี้ความสำเร็จเชิงปริมาณ

2. วิสัยทัศน์แห่งอนาคต

พัฒนาวิสัยทัศน์ที่ครอบคลุมการเชื่อมโยงมุมมองของบุคลากร แนวปฏิบัติ และแพลตฟอร์ม

3. แรงสนับสนุนจากผู้บริหาร

การเปลี่ยนแปลงจะประสบความสำเร็จได้จำเป็นที่จะต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหาร ทั้งในแง่กลยุทธ์ และความรับผิดชอบร่วมกัน

4. ประสบการณ์และการริเริ่มการเปลี่ยนแปลง

การปรับเปลี่ยนกรอบความคิดตั้งแต่เนิ่นๆ สามารถช่วยให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเตรียมความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงอย่างสร้างสรรค์และทันท่วงที

ดาวน์โหลดรายงานผลสำรวจ เพื่ออ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

มุ่งสู่อนาคต

การเปลี่ยนแปลงในองค์กรยุคใหม่ก็เหมือนกับการเล่นเกมที่กฎเกณฑ์เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ แต่อย่างไรคุณก็ต้องเล่นเกมนี้ คุณต้องปรับตัวและพัฒนาเพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จ จากการศึกษานี้ เราได้ประเมินเส้นทางวิวัฒนาการของทรัพยากรบุคคล และวิธีที่บริษัทต่างๆ นำความต้องการทางด้านความคล่องตัวทางธุรกิจ และประสบการณ์ของพนักงานเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารจัดการบุคลากร

รายงานดังกล่าวให้ข้อมูลเชิงลึกที่น่าสนใจเกี่ยวกับอนาคตของการเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรบุคคลในตลาดที่โดดเด่นด้วยการเปลี่ยนแปลงกะทันหันและความคาดหวังที่เปลี่ยนไป ผลลัพธ์ชี้ให้เห็นว่าองค์กรต่างๆ ต้องเริ่มต้นบนเส้นทางแห่งการเปลี่ยนแปลงด้วยการส่งเสริมความคล่องตัวและปรับปรุงประสบการณ์ของพนักงาน การเจาะลึกการศึกษานี้ คุณจะได้รับข้อมูลเชิงลึกว่าผู้นำทางด้านทรัพยากรบุคคลในอุตสาหกรรมต่างๆ ดำเนินการเพื่อองค์กรของตนอย่างไร ทั้งยังสามารถเปรียบเทียบระดับขององค์กรของคุณกับระดับมาตรฐานในอุตสาหกรรมธุรกิจ ทั้งยังมองเห็นเส้นทางการพัฒนาที่เป็นเอกลักษณ์ของคุณเอง

แล้วคุณกำลังรออะไรอยู่? เริ่มดำเนินการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ตอนนี้เพื่อความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงทางด้านทรัพยากรบุคคลขององค์กรของคุณให้เหนือกว่าคู่แข่งทุกคน

ดาวน์โหลดรายงานผลสำรวจฉบับเต็ม