ระบบการบริหารจัดการการวัดผลงานในการจัดทรัพยากบุคคลทีมีหน้าที่ในการจัดการกับฟังก์ชั่นสำคัญต่างๆเช่น การกำหนดเป้าหมายในการทำงาน การให้คำติชม รางวัล การตรวจสอบผลงาน ฯลฯ อ่านบทความของเราต่อเพื่อเรียนรู้แล้วทำความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญ ประเภท ส่วนประกอบ และตัวอย่างของกระบวนการบริหารจัดการผลงานของพนักงานในยุคปัจจุบัน
ความสำเร็จขององค์กรนั้น ขึ้นอยู่กับผลงานที่เกิดขึ้นจากการทำงานของพนักงาน แต่การที่พนักงานจะมีผลงานที่ทำได้ดีนั้น บริษัทจำเป็นต้องให้ความสำคัญในการมอบการบริการที่ดีให้กับพนักงานเพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาจะมีทุกอย่างที่พวกเขาต้องการ กำหนดความชัดเจนในวัตถุประสงค์และเป้าหมายต้องถูก งานของพนักงานนั้นควรถูกจับคู่และเหมาะสมกับทักษะของพนักงาน มีมาตรฐานในการเรียนรู้และพัฒนาที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์กรทั้งในเรื่องการเรียนรู้และระยะเวลาที่เพียงพอในการแสดผลงานของพนักงานต้องได้รับการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอเพื่อตรวจสอบปัญหาในการให้ผลงานที่ไม่ดี
ระบบการบริหารจัดการนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่มีประโยชน์และสำคัญอย่างมาก โดยที่ผู้จัดการทรัพยากรบุคคลสามารถใช้ระบบการบริหารจัดการผลงานที่ดีเพื่อกำหนดความคาดหวังในการปฏิบัติงานอย่างชัดเจน กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ ให้ข้อเสนอแนะทันเวลาและให้รางวัลตามคาดหวังนั้น ช่วยในการตรวจสอบและจัดการผลงาน จัดสำหรับการประเมินผลงานและให้ข้อเสนอแนะอย่างต่อเนื่อง ระบบการบริหารจัดการผลงานได้ช่วยเสริมสร้างและปรับปรุงกระบวนการในองค์กรหลายแห่งเพื่อจัดการกับ กระบวนการประเมินประสิทธิภาพการทำงาน
สารบัญ:
อะไรคือระบบการจัดการประสิทธิภาพ?
ระบบบริหารจัดการผลงานนั้นเป็นเครื่องมือที่ใช้โดยทีมทรัพยากรบุคคลในการวัดและวิเคราะห์ผลการทำงานของพนักงานทั้งหมด โดยที่องค์กรใช้ระบบนี้เพื่อช่วยให้การทำงานภายในองค์กรนั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและยังสามารถช่วยให้พนักงานปรับปรุงการทำงานของตนได้ ระบบการบริหารจัดการผลงานมักครอบคลุมการประเมินผลการทำงานและการพัฒนาพนักงาน
การวัดผลการทำงานของพนักงานและการตรวจสอบการทำงานที่มีความสอดคล้องกับเป้าหลายและวิสัยทัศน์ขององค์กร การบริหารจัดการผลงานเป็นสิ่งสำคัญในธุรกิจเพราะเครื่องมือเหล่านี้นั้นถือว่าเป็นระบบที่ช่วยทำให้กระบวนการเหล่านี้เป็นไปได้อย่างง่ายดายและทำให้การประเมินนั้นเป็นไปอย่างยุติธรรมและเป็นไปตามเวลาจริง
ความสำคัญของระบบการบริหารจัดการผลงานคืออะไร?
ระบบการจัดการผลการปฏิบัติงานที่ดีจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมขององค์กรโดยการจัดการผลการปฏิบัติงานของแต่ละคนเพื่อให้แน่ใจว่าบรรลุแรงบันดาลใจและเป้าหมายขององค์กร ระบบทำให้การวัดการเติบโตของพนักงานของคุณ ตลอดจนความต้องการความช่วยเหลือของพวกเขาง่ายขึ้นและเร็วขึ้น
กระบวนการ HR ในแต่ละวันมีความสอดคล้องและมีโครงสร้างมากขึ้นเมื่อใช้เครื่องมือการจัดการประสิทธิภาพ ระบบการจัดการผลงาน:
- ช่วยในการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการตัดสินใจเกี่ยวกับการเลื่อนตำแหน่ง เงินเดือน การโอนย้าย หรือการปลดพนักงาน
- เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานโดยให้คำแนะนำและแผนปฏิบัติการที่จำเป็นอย่างต่อเนื่อง
- ช่วยในการพัฒนาแผนการฝึกอบรมที่ดีขึ้นและสามารถปรับให้เข้ากับความต้องการได้มากขึ้นสำหรับผลการทบทวนการปฏิบัติงานของพนักงาน
- ช่วยให้สามารถแก้ปัญหาในหลักสูตรได้เร็วขึ้นผ่านการสื่อสารกันอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับเป้าหมายและสิ่งสำคัญต่างๆ การพัฒนาแผนงานและโครงการต่างๆ และการประเมินความคืบหน้าของงานที่ทำเป็นระยะ
- การวางแผนพัฒนากลยุทธ์ที่จะช่วยรักษาพนักงานเดิมที่ดีขึ้นและวางแผนสำหรับการสืบทอดตำแหน่งของพนักงาน
- สร้างการสื่อสานภายในองค์กรที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นและให้ความั่นใจกับพนักงาน รวมถึงเรื่องการมีส่วนร่วมของพนักงานในทุกระดับขององค์กร
- ส่งเสริมความโปร่งใสของพนักงาน
- ช่วยให้สามารถกำหนดเป้าหมายในการทำงานที่มีความชาญฉลาดยิ่งและยังช่วยกันเติมเต็มแรงบันดาลใจในการทำงานของพนักงาน การเริ่มใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของพวกเขา และบรรลุเป้าหมายที่องค์กรได้ตั้งไว้
- เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง
เรียนรู้เพิ่มเติม จุดให้บริการเดียวที่ครบวงจรสำหรับความต้องการด้านการจัดการประสิทธิภาพขององค์กรคุณ
ระบบการจัดการประสิทธิภาพพนักงานภายในองค์กรนั้นมีมาระยะหนึ่งแล้ว ระบบเหล่านี้ช่วยขจัดสิ่งที่กำลังกีดขาวงการทำงานแบบเดิมๆและช่วยจัดการประสิทธิภาพในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น ส่งผลให้มีผลผลิตในการทำงานมากยิ่งขึ้น ช่วยให้เติบโตเร็ว และเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกที่นำไปปฏิบัติจริงได้
ทำไมองค์กรถึงต้องการระบบบริหารผลงาน?
การมีระบบการจัดการผลการปฏิบัติงานที่มีความแข็งแกร่งนั้นบงบอกได้ว่าองค์กรของคุณนั้นให้คุณค่ากับพนักงานของคุณเองและพร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้าเพื่อช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของพวกเขา บริษัทส่วนใหญ่ในปัจจุบันนั้นได้ตระกนักถึงข้อดีมากมายของการมีระบบการจัดการผลการปฏิบัติงาน และด้วยเหตุนี้จึงลงทุนในสิ่งเหล่านี้เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ
วิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการดำเนินการจัดการผลการปฏิบัติงานคือการสร้างระบบที่ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องแก่ HR มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ในขณะที่ไม่ให้ข้อมูลล้นระบบหรือมีข้อมูลที่ไม่จำเป็นหรือซ้ำซ้อน ความต้องการระบบการจัดการผลการปฏิบัติงานที่ทันสมัยนั้นเกิดขึ้นเนื่องจากคุณสมบัติที่มีประโยชน์มากมายที่มาพร้อมกับมัน
ให้เราดูข้อเสนอและคุณสมบัติบางอย่างของระบบการจัดการประสิทธิภาพที่ทันสมัย:
1. ข้อมูลเชิงลึกที่มีประสิทธิภาพ
ในปัจจุบัน ผู้จ้างส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนจากข้อมูลที่สามารถเรียนรู้ว่าอะไรคือสิ่งที่กระตุ้นการทำงานของพนักงานภายในองค์กร ระบุจุดที่เป็นสิ่งน่าสนใจ และมอบประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมให้กับพนักงานด้วยเครื่องมือการจัดการประสิทธิภาพที่ทันสมัย
2. ปรับปรุงความถี่ของข้อเสนอแนะ
ด้วยระบบการจัดการผลการปัฎิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ นายจ้างสามารถมีความมั่นใจได้มากขึ้นเกี่ยวกับขั้นตอนการให้ความเห็นที่อาจจะมีความยุ่งยากและใช้เวลานาน จะเป็นเรื่องดีอย่างมากหากกระบวนการเหล่านี้กลายเป็นระบบอัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยปรับปรุงความถี่ของคำติชมที่ออกไปในระยะเวลาที่กำหนดให้เพิ่มขึ้น
3. ข้อเสนอแนะที่มีความต่อเนื่องและการให้ความเห็นครบวงจรแบบ 360 องศา
คำติชมและความเห็นที่มอบให้พนักงานอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องนั้นมีความสำคัญมากกว่าที่เคยเป็น เนื่องจาก 80% ของบุคลากรที่เป็น Gen Y กล่าวว่าพวกเขาชอบการให้คำชม ณ จุดนั้นมากกว่าการได้รับการรีวิวที่เป็นทางการ และ กว่า 63% ของ Gen Z กล่าวว่าพวกเขาต้องการรับฟังความคิดเห็นที่สร้างสรรค์และทันท่วงทีตลอดทั้งปี
ข้อเสนอแนะที่ครบวงจรแบบ 360 องศา นั้นสามารถรับประกันได้ว่าพนักงานทุกคนจะต้องตระหนักถึงจุดแข็งและข้อบงพร่องของตนเอง ผู้ประเมินหลายคน เช่น เพื่อน หัวหน้างาน และผู้มีส่วนร่วมทางธุรกิจ สามารถให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับงานของแต่ละคนที่ต้องการการพัฒนาเพิ่มเติมได้
เรียนรู้เพิ่มเติม: คำแนะนำขั้นสูงสุดสำหรับแนะนำต่อเนื่องสำหรับพนักงาน
4. กระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงานที่เป็นธรรม
พนักงานทั่วโลกได้มีความตัดพ้อมานานเกี่ยวกับการได้รับคำติชมที่พวกเขาได้รับว่าเป็นคำติชมที่มีอคดิหรือเป็นคำติชมที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานของพวกเขา อย่างไรก็ตาม เมื่อใช้ระบบอย่างถูกต้องนั้น เทคโนโลยีอาจช่วยเสริมสร้างความรู้สึกยุติธรรมมากขึ้น ขจัดความเป็นไปได้ในการประเมินที่มีการบิดเบือนในเรื่องการปฏิบัติงาน
5. ติดตามผลการปฏิบัติงานของพนักงานได้ง่าย
ระบบการจัดการผลการปฏิบัติงานทำให้การติดตามผลการทำงนของพนักงานได้ตลอดเวลาและทำได้อย่างแม่นยำ ช่วยให้พนักงานสามารถดูเป้าหมายในการทำงานปัจจุบันและความคืบหน้าในการบรรลุเป้าหมายที่ถูกตั้งไว้ได้ สิ่งนี้เกี่ยวข้องกับการติดตามโครงการต่างๆภายในองค์กร ผู้จัดการแต่ละแผลนกสามารถเทียบผลงานปฏิบัติงานของพนักงานให้ตรงกับเป้าหมายที่ถูกตั้งไว้ และพนักงานจะมีความเข้าใจเกี่ยวกับจุดยืนของพวกเขาภายในองค์กรมากยิ่งขึ้น
6. การระบุข้อกำหนดการฝึกอบรมที่ทำเป็นประจำ
ด้วยระบบการจัดการวัดผลการปฏิบัติงานที่เหมาะสมองค์กรสามารถสร้างวัฒนธรรมของการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเร่งการเติบโตในสายอาชีพด้วยแผนการฝึกอบรมที่นำไปใช้ได้จริงซึ่งหล่อเลี้ยงและรักษาผู้มีความสามารถที่ดีที่สุดไว้
7. ระบบอัตโนมัติของการรายงานผลการตรวจสอบ
การรายงานผลการปฏิบัติงานของพนักงานนั้นมีความสำคัญพอๆกับการประเมินและวัดผลพนักงานทุกคน การรายงานผลการทบทวนประสิทธิภาพการทำงานนั้นจะถูกส่งกลับไปยังผู้จัดการและพนักงานแต่ละคนเพื่อช่วยเพิ่มความถี่และคุณภาพของความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการทำงานในอนาคต
กระบวนการรายงานเหล่านี้สามารถทำงานผ่านระบบอัตโนมัติเพื่อช่วยในเรื่องการประหยัดเงินและเวลา และสร้างการวิเคราะห์ที่มีความสามารถสูงที่สามารถใช้ในการปรับอันดับ สร้างแผนการสืบทอดตำแหน่งของพนักงาน จัดสรรค่าตอบแทน และสร้างแผนการพัฒนาต่อไปในอนาคต
ประเภทของระบบการจัดการประสิทธิภาพคืออะไร?
Lเป็นเวลานานที่ระบบการจัดการประสิทธิภาพนั้นมักจะถูกนำมาใช้แค่ปีละครั้งสำหรับการประเมิณพนักงานและการตรวจสอบประสิทธิภาพประจำปี องค์กรต่างๆ นั้นมีไดนามิกมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และมีการเปลี่ยนเป้าหมายการทำงานหลายครั้งตลอดทั้งปี โดยเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการเปิดรับแนวทางที่มีความครับคลุมมากขึ้นในหารทบทวนเป้าหมายในการทำงานอยู่ตลอดเวลา
เนื่องด้วยสาเหตุจากการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จึงมีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องมีการค้นหาแนวทางใหม่ในการจัดการกับประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน ดังนั้น ธุรกิจจำนวนมากจึงเริ่มนำแนวทางและนวัตกรรมใหม่มาใช้ในการจัดการกับประสิทธิภาพของพนักงนา ซึ่งเพิ่มมูลค่าและขับเคลื่อนธุรกิจด้วยข้อมูลแทนที่จะใช้สัญชาตญาณ
เพื่อเสริมความแน่ในว่าการจัดการผลการปฏิบัติงานจะเพิ่มคุณค่าที่แท้จริง องค์กรสามารถใช้วิธีจัดการผลการปฏิบัติงานแบบดั้งเดิมและสมัยใหม่ที่ผสมผสานกัน และได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสร้างประโยชน์ให้กับธุรกิจได้อย่างแท้จริง
ระบบการจัดการผลการปฏิบัติงานถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางเพื่อวัดผลการปฏิบัติงานขององค์กรและผลการปฏิบัติงานของพนักงานแต่ละคน
เรามาดูรายละเอียดเกี่ยวกับระบบการจัดการประสิทธิภาพประเภทต่างๆ อย่างละเอียด:
1. ระบบการบริหารผลการปฏิบัติงานขององค์กร
การจัดการกับประสิทธิภาพการทำงานขององค์กรทำขึ้นเพื่อให้เป้าหมายของบริษัทสอดคล้องกับทรัพยากรที่มีอยู่ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในการวางแผนสืบทอดตำแหน่งให้กับพนักงานที่จำทำงานในตำแหน่งนี้ต่อไป และพัฒนากลยุทธ์สำหรับอนาคต ระบบนี้ไม่ได้มุ่งเน้นเพียงแค่ที่พนักงานแต่ละคนเท่านั้น แต่ยังมุ่งเน้นไปที่ทีม โปรแกรม และกระบวนการขององค์กรด้วย
a. การบริหารโดยวัตถุประสงค์ (Management by Objectives - MBO)
การบริหารโดยวัตถุประสงค์เป็นวิธีที่ใช้ในการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน โดยอาศัยการทำงานร่วมกันระหว่างผู้จัดการและพนักงานแต่ละคนภายในบริษัท จากนั้นแล้ว จะมีการตรวจสอบการทำงานและเป้าหมายขององค์กรตามช่วงเวลาที่กำหนดไว้ ฤษฎีที่อยู่เบื้องหลังของ MBO คือความเชื่อที่ว่าพนักงานจะมีแรงจูงใจและสร้างการผลิตที่ดีกว่าเมื่อพวกเขาเข้าใจการทำงานและมีตำแหน่งภายในองค์กรที่ชัดเจนและความรับผิดชอบของพวกเขานั้นจะมุ่งเน้นไปที่การบรรลุเป้าหมายขององค์กร
MBO เป็นหนึ่งในเทคนิคการประเมินผลการทำงานที่ได้รับความนิยมสูงและใช้กันอย่างแพร่หลายในหลายๆองค์กร ซึ่งช่วยให้องค์กรทั้งหมดมีความคิดเห็นร่วมกันในเรื่องหน้าที่การงานและสิ่งที่ควรจะทำ นั้นเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับทีมที่ทำให้มั่นใจว่าจะเริ่มต้นการทำงานจากจุดเดียวกันและพยายามมุ่งสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้เหมือนกัน
มีส่วนประกอบหลัก ๆ ของระบบการบริหารจัดการผลงานดังนี้:
- การตั้งเป้าหมาย (Goal Setting)
- มาตรฐานการประเมินผลงาน (Performance Standard)
- เปรียบเทียบเป้าหมาย (Comparison of goals)
- ตรวจสอบเปรียบเทียบเป้าหมายในช่วงเวลาที่กำหนด (Periodic Review)
b. เทคนิควัดผล Bell Curve Method
Bell Curve Method เป็ยเส้นโค้งที่ปกติใช้บ่อยในการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินและเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับการวัดผลและประเมินผลการทำงานของพนักงานในเรื่องทรัพยากรบุคคล จุดสูงสุดของเส้นโค้งนั้นจะถูกใช้แทนค่าเฉลี่ย ธยฐาน และฐานของชุดข้อมูล วิธีการบริหารจัดการผลงานด้วย Bell Curve Method ถูกใช้เป็นพิเศษเมื่อการลงคะแนนผลการทำงานขององค์กรเป็นที่สำคัญในการเก็บรักษาพนักงานที่ดีที่สุด
ระบบการประเมินผลงานด้วย Bell Curve Method นั้นจะถูกใช้เมื่อองค์กรต้องการเชื่อมโยงผลงานของพนักงานกับรางวัลตอบแทนที่จะได้โดยตรง ด้วยวิธีนี้พนักงานจะถูกจัดหมวดหมู่ตามการจัดอันดับที่กำหนดให้กับผลงานของพวกเขา โดย Bell Curve Method จะจัดตำแหน่งพนักงานในระดับผลงานต่าง ๆ ดังนี้ —
- 20% สูงสุด - ผู้ทำงานที่ดีที่สุด
- 70% ระดับกลาง - ผู้ทำงานที่เฉลี่ย
- 10% ส่วนล่าง - ผู้ทำงานที่ด้อยที่สุด
ระบบการบริหารจัดการผลงานนี้จะจัดหมวดหมู่พนักงานให้เหมาะสมตามตัวชี้วัดผลงานและให้รางวัลให้พวกเขาตามการจัดอันดับ
c. Balanced Scorecard
Balanced Scorecard ที่มีความสอดคล้องกันและเน้นไปที่การค้นหากลยุทธ์ขององค์กรที่มีผลกระทบต่อผลงานโดยรวม ทำให้เป็นระบบการบริหารจัดการผลงานที่เน้นไปทางกลยุทธ์การทำธุรกิจ ส่วนนึงของ Balanced Scorecard นั้นจะถูกพิจารณาจากมุมมองที่ 'สมดุล' ซึ่งมันแสดงให้เห็นถึงมุมมองที่สมดุลขององค์กรหรือโครงการของคุณในที่อย่างเข้าใจง่าย มีการจัดอันดับว่าเป็นมีประโยชน์อย่างมาก 73% ของธุรกิจทั่วโลกนั้นได้ใช้วิธีดำเนินการนี้เพื่อวัดผลการทำงานภายในองค์กร
ระบบการจัดการผลการปฏิบัติงานแบบ Balance Scorecard มีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพดารทพงานขององค์กรใน 4 ด้านหลัก ได้แก่ การเงิน ลูกค้า กระบวนการภายใน และการเรียนรู้และการเติบโต ระบบการจัดการประสิทธิภาพสามารถนำวิธีการจดบันทึกคะแนนที่สมดุลมาใช้โดยจัดการมองทั้งสี่สิ่งข้างต้นโดยทำแผนที่กับวัตถุประสงค์และดำเนินการเพิ่มขึ้นเพื่อให้ได้ผลประโยชน์ทางการเงินสูงสุดเท่าที่จะเป็นไปได้
2. ระบบการจัดการประสิทธิภาพรายบุคคล
ระบบการจัดการผลการปฏิบัติงานส่วนบุคคลช่วยให้มั่นใจได้ว่าผลการปฏิบัติงานของพนักงานแต่ละคนสอดคล้องกับเป้าหมายและกลยุทธ์ขององค์กรที่ใหญ่กว่า
a. Behaviorally Anchored Rating Scales (BARS)
Behaviorally Anchored Rating Scales (BARS) เป็นกระบวนการการให้คะแนนที่ขึ้นอยู่กับการประเมินคุณลักษณะด้านพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของพนักงาน มีการสอบถามเพิ่มเติมในแต่ละคำถามหรือข้อสงสัยของหนักงาน อธิบายถึงระดับที่พนักงานแสดงพฤติกรรมเฉพาะนั้น หนึ่งในณสมบัติที่กำหนดคือพิจารณาลักษณะที่จับต้องไม่ได้ของพนักงานและจับคู่กับระบบการให้คะแนน ระบบการประเมิน BARS ที่มีประสิทธิภาพประกอบด้วยองค์ประกอบต่อไปนี้:
-
การระบุเหตุการณ์ที่สำคัญ (Identifying critical incidents): คือการระบุกลุ่มของพฤติกรรมหรือเหตุการณ์ที่มีผลกระทบต่อบทบาทในการทำงาน
-
การสร้างและจัดสรรมิติการประเมินผลงาน (Creating and reallocating performance dimensions): คือการรวบรวมมิติการประเมินผลงานต่าง ๆ เช่น พฤติกรรมที่มีผลต่อด้านที่เฉพาะเจาะจงของบทบาทของพนักงาน ผู้สร้างแบบสอบถามต้องแบ่งปันความคิดของพวกเขา ในที่สุดต้องจัดหมวดหมู่คุณสมบัติเหล่านี้ตามที่คนส่วนใหญ่เชื่อว่าเหมาะกับด้านที่เฉพาะเจาะจงของบทบาทการทำงาน
-
การสร้างสเกลที่สามารถวัดได้ (Quantifiable scaling): หลังจากนั้นเป็นเวลาที่ต้องกำหนดว่าพฤติกรรมนั้นสำเร็จแค่ไหนและเปรียบเทียบกับระบบสเกล
-
เครื่องมือ BARS สุดท้าย (The final BARS instrument): เครื่องมือ BARS สุดท้ายเปรียบเทียบข้อมูลที่รวบรวมไว้กับสเกลแนวตั้ง ๆ นี้สามารถใช้เปรียบเทียบพื้นที่ที่พนักงานทำได้ดีและพื้นที่ที่พวกเขาต้องการปรับปรุ
b. Tวิธี OKR
วิธีการประเมินผลงานที่ทันสมัยนี้ได้มีความสำคัญอย่างมากในช่วงเวลาล่าสุด มาตรการ OKRs (Objectives and Key Results) เหมาะสมที่สุดสำหรับองค์กรที่มีแนวคิดกลยุทธ์ที่ได้ตั้งไว้แล้ว
OKR เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการผลงานที่กำหนดเป้าหมาย, สื่อสาร, และวัดเป้าหมายในองค์กรเพื่อให้พนักงานทุกคนทำงานตามเป้าหมายที่องค์กรตั้งไว้และไปในทิศทางเดียวกัน อย่างไรก็ตาม องค์กรแต่ละองค์กรจะเป้าหมายที่แตกต่างกันและติดตามตัวชี้วัดที่แตกต่างกันเช่นกัน
เรียนรู้เพิ่มเติม: เปิดใช้งาน OKR ภายในไม่กี่ชั่วโมงและเริ่มขับเคลื่อนผลลัพธ์สำหรับองค์กรของคุณ
c. การประเมินผล 360 องศา
วิธีการประเมินผลที่มีความทันสมัยนั้นเป็นอีกหนึ่งวิธีในการประเมินบุคคลจากทุกมุมมอง การประเมินในรูปแบบนี้เกี่ยวข้องกับการรวบรวมข้อมูลความคิดเห็นที่มีความเกี่ยวข้องกับตัวชี้วัดต่างๆ เช่นจากเพื่อนร่วมงาน ลูกน้องในที่ทำงาน ผู้บังคับบัญชาและพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจ การประเมินนี้ยังต้องให้พนักงานทำการประเมินด้วยตนเองด้วย กล่าวคือการรวบรวมข้อมูลจากทุกคนที่เกี่ยวข้องกับพนักงาน
จากนั้นจะมีการเตรียมรายงานโดยใช้ค่าเฉลี่ยของคะแนนจากผู้ตอบและสามารถเปรียบเทียบกับการประเมินด้วยตนเองของพนักงาน จากนั้นจะนำมาใช้ในการกำหนดยุทธการสำหรับพนักงาน และควบคุมการประเมินผลของพนักงานเป็นประจำตามระยะเวลา ตามข้อมูลจาก Forbes, กว่า 89% ของผู้บริหาร HR รู้สึกได้ว่าจากที่พนักงานได้รับคำติชมและการสอบถามจากเพื่อนรวมงานนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญในการไปถึงเป้าหมายที่ต้องการ
องค์ประกอบของระบบการจัดการผลงานที่มีประสิทธิภาพคืออะไร?
การจัดการการวัดผลการปปฏิบัติงานเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตลอดปีเพื่อกำหนดเป้าหมาย ประเมินผล และให้รางวัลแก่งาน มีองค์ประกอบหลักห้าประการที่เกี่ยวข้อกับการจัดการผลงาน ได้แก่ ระยะการวางแผน การจัดการ การพัฒนา การทบกวน และการให้รางวัลตอบแทน เราจะมาเจาะลึกและทำความเข้าใจกับแต่ละข้อกันเถอะ เราลองมาดูกันว่าองค์ประกอบของแต่ละระบบของการจัดการงานที่มีประสิทธิภาพมีอะไรบ้าง
1. ขั้นตอนการวางแผน
รากฐานที่สำคัญสำหรับกระบวนการจัดการผลงานที่มีประสิทธิภาพคือการวางแผนที่ดี และสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนที่ดีมีดังนี้:
- จัดทำแผนประเมินผล
- การกำหนดวัตถุประสงค์และ
- การมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ส่งเสริมความมุ่งมั่น,
การวางแปนคือการดำเนินการที่มีความต่อเนื่องในการจัดการกับประสิทธิภาพภายในธุรกิจที่ควรจัดการโดยคำนึงถึงเป้าหมายที่เรียกว่า SMART เพื่อส่งเสริมความทุ่มเทและความเข้าใจโดยเชื่อมโยงงานของพนักงานเข้ากับเป้าหมายและวัตถุประสงค์ขององค์กร ขั้นตอนเหล่านี้ประกอบด้วยการแบ่งปันวิสัยทัศน์และการทำงานร่วมกันเพื่อทำให้เป็นจริงได้ เมื่อใช้อย่างมีประสิทธิภาพ แผนที่สร้างขึ้นผ่านระบบการจัดการประสิทธิภาพอาจเป็นเอกสารที่มีประโยชน์และมีประโยชน์ซึ่งมีการพูดคุยระหว่างพนักงานมากขึ้น และไม่ได้เป็นเพียงแค่เอกสารที่ถูกจัดเก็บและลืมไป และจะได้เห็นเมื่อต้องการจะใช้เท่านั้น
2. การจัดการ
ขั้นตอนต่อไปคือการดำเนินการและมุ่นเน้นไปที่การบรรลุวัตถุประสงค์ทางธุรกิจที่กว้างขึ้น ขั้นตอนนี้เกี่ยวข้องกับการประเมินและทบ ผลการปฏิบัติงานที่องค์กรทำเป็นประจำ และให้ข้อเสนอแนะแก่พนักงานอย่างต่อเนื่องในขณะที่พวกเขาทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมายของแต่ละคน
นี้รวมไปถึง - การรักษาแนวคิดและแนวทางการทำงานเชิงบวกในการทำงาน รับฟังและขอคำติชมจากหัวหน้างาน การให้ข้อเสนอแนะ แนะนำประสบการณ์การพัฒนาอนาคตของการทำงาน และการทำงานร่วมกันเป็นทีมระหว่างหัวหน้าและทีมเพื่อจัดการกระบวนการบริหารผลการปฏิบัติงาน
อีกนัยหนึ่งคือ ระบบเหล่านี้ช่วยอำนวยความสะดวกในการสื่อสารภายในองค์กรเพื่อให้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้นและเพื่อให้พนักงานตระหนักถึงวัตถุประสงค์และนำไปสู่การพัฒนาในอนาคต การตรวจสอบอย่างต่อเนื่องช่วยให้คุณเห็นว่าพนักงานของคุณปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนดได้ดีเพียงใด และทำการเปลี่ยนแปลงใดๆที่ไม่สมเหตุสมผลหรือทำให้เกิดปัญหาหรือไม่ สามารถระบุประสิทธิภาพที่ยอมรับไม่ได้ในระหว่างขั้นตอนนี้ และสามารถให้ความช่วยเหลือเพื่อจัดการกับประสิทธิภาพดังกล่าว แทนที่จะรอจนกว่าจะสิ้นสุดระยะเวลาที่มีการกำหนดระดับคะแนนสรุป
3. การพัฒนา
หลังจากที่ได้ทำการประเมินมาตรการปฏิบัติงานของพนักงานแล้ว พวกเขาสามารถเข้ารับการฝึกอบรบและฝึกทักษะเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น สิ่งนี้นำไปสู่องค์ประกอบที่สำคัญต่อไปของระบบการจัดการประสิทธิภาพอีกหนึ่งอย่างคือ การพัฒนา
การพัฒนานั้นรวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติงานผ่านการฝึกอบรม การส่งมอบงานที่แนะนำทักษะใหม่หรือความรับผิดชอบในระดับที่สูงขึ้น การปรับปรุงกระบวนการทำงาน หรือแนวทางอื่นๆ การให้โอกาสในการฝึกอบรมและพัฒนาแก่พนักงานเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานที่สูงขึ้น เพิ่มทักษะและความสามารถที่เกี่ยวข้องกับงาน และช่วยเหลือพนักงานให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในที่ทำงาน
ด้วยการทำงานของระบบอัตโนมัติและการวิเคาระห์ที่เป็นอัจฉริยะของระบบนั้นจะช่วยให้จัดการกับประสิทธิภาพที่เป็นปัจจุบันได้อย่างง่ายดาย และด้วยเหตุนี้การให้คำแนะนำกับพนักงานว่าจะต้องทำการฝึกอบรมเพิ่มเติมเมื่อไหร่และในรูปแบบใด
4. กระบวนการทบทวน/การให้คะแนน
นี้คือการประเมินว่าพนักงานนั้นมีการคืบหน้าไปสู่วัตถุประสงค์ในการทำงานของพวกเขามากน้อยเพียงใด เพื่อให้การสนทนานั้นเป็นไปตามเวลาจริง สิ่งที่สำคัฐคือต้องทำให้กระบวนการให้คะแนนและการแนะนำนั้นกลายเป็นเรื่องง่ายและเข้าถึงได้
ผู้ว่าจ้างอาจใช้ขั้นตอนเหล่านี้เพื่อสรุปผลการปฏิบัติงานของพนักงานที่ทำอยู่สม่ำเสมอ สิ่งนี้มีประโยชน์สำหรับการวิเคราะห์และเปรียบเทียบประสิทธิภาพในช่วงเวลาหนึ่งหรือระหน่างบุคลากรที่มีความแตกต่างหัน ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว องค์กรต่างๆจำเป็นจะต้องรู้ว่าใครคือผู้ที่มีผลงานที่ทำได้ดีที่สุด
สิ่งที่สำคัญที่สุดนั้นคือต้องทำให้กระบวนการรีเควซและการขอคำติชมนั้นกลายเป็นเรื่องง่ายและสร้างระบบโดยคำนึงถึงผู้ใช้เป้นหลัก เพื่อให้พนักงานกลายเป็นผู้ดำเนินกระบวนการ เทคโนโลได้กลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในภูมิทัศน์การทำธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และสามารถนำมาใช้เพื่อให้พนักงานแสดงความคิดเห็นได้อย่างทันท่วงทีและมีความรอบคอบ ช่วยลดความไม่มั่นใจในการแชร์ข้อมูลที่สำคัญ ทุกการแชร์สามารถทำได้อย่างปลอดภัยเนื่องจากเทคโนโลยีของระบบนั้นมีมาตรการป้องกันสูงและสามารถปรับแต่งค่ากำหนดความปลอดภัยได้ตามต้องการ
5. การให้รางวัล
องค์ประกอบสุดท้ายของระบบการจัดการผลการปฏิบัติงานมีวัตถุประสงค์เพื่อรับรู้ถึงความพยายามในการทำงานของพนักงานทั้งหมดที่อยู่ในองค์กรต่อการปรับปรุงผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง รางวัลมักจะไม่ได้ผูกติดอยู่กับการเพิ่มขวัญกำลังใจให้กับพนักงาน แต่เป็นการยกย่องและยอมรับความสำเร็จของพนักงานที่มีอยู่อย่างต่อเนื่องในแต่ละวัน
เมื่อพนักงานเชื่อว่าความพยายามของพวกเขานั้นได้รับการยอมรับและมองเห็น พวกเขามีแนวโน้มที่จะทำงานได้ดีขึ้นเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายมากขึ้นเรื่อยๆ เป็นผลให้ธุรกิจที่มีประสิทธิภาพมั่นใจได้ว่าการให้รางวัลเป็นกระบวนการต่อเนื่องและระบบการจัดการประสิทธิภาพช่วยในการตัดสินใจนี้
5 ตัวอย่างระบบบริหารผลงาน
มาดูตัวอย่างของบริษัทที่มีชื่อเสียงและวิธีที่พวกเขาใช้ระบบการจัดการประสิทธิภาพที่ทันสมัยเพื่อให้แน่ใจว่าพนักงานของพวกเขาทำงานอย่างเต็มความสามารถและบรรลุเป้าหมายที่ได้รับมอบหมาย
- แม้จะอยู่ในตลาดมาเป็นเวลานานแล้ว Balanced Scorecard นั้นถือเป็นวิธีการจัดการประสิทธิภาพเชิงกลยุทธ์ที่ดีที่สุดวิธีหนึ่ง ใน แบบสำรวจที่จัดทำโดย 2CG, 75% ใช้ Balanced Scorecard เพื่อโน้มน้าวการดำเนินการทางธุรกิจ บริษัทยานยนต์ เช่น Volkswagen, Ford Motor Company, บริษัทการเงินชั้นนำ เช่น Wells Fargo, Citibank และบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีอย่าง Apple อาศัย Balanced Scorecard เพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายประสิทธิภาพเชิงกลยุทธ์
- กระบวนทัศน์การจัดการโดยวัตถุประสงค์ได้รับการใช้กันอย่างแพร่หลายในภาคธุรกิจเนื่องจากผลประโยชน์ที่สามารถมอบให้กับบริษัทในแง่ของประสิทธิภาพการดำเนินงานและความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวที่หลากหลาย โดยที่เป็นตัวอย่างที่รู้จักกันดีที่สุดที่ใช้ระบบนี้คือ Hewlett-Packard, Xerox และ Intel เป็นต้น
Hewlett-Packard ใช้ MBO เพื่อสร้างระบบที่มีการทบทวนวัตถุประสงค์ในแต่ละระดับผู้บริหาร ส่งผลให้ระบบมีเป้าหมายที่เชื่อมโยงกัน ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของเทคนิค บริษัทใช้แผนเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อให้แน่ใจว่าพนักงานแต่ละคนเข้าใจวัตถุประสงค์และการดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย - ประมาณ 75% ถึง 80% ของบริษัทในอินเดียใช้วิธีการแบบเส้นโค้งระฆังสำหรับการประเมินผลการปฏิบัติงานพร้อมกับระบบการจัดการประสิทธิภาพอื่นๆ นายจ้างชาวอินเดียที่มีชื่อเสียง ได้แก่ Infosys, Wipro, ICICI Bank และ Aditya Birla Group ประเมินพนักงานจำนวนมากตามระบบนี้
วิธีการแบบโค้งระฆังจะยังคงอยู่จนกว่าผู้คนจะคิดค้นระบบที่ดีกว่า เนื่องจากสามารถช่วยในการคาดเดาได้มากกว่าและสร้างความสมดุลของความเป็นธรรมระหว่างผู้ถือหุ้นและพนักงาน - องค์กรที่ใช้ OKR ไม่เพียงสามารถอยู่รอด แต่ยังเติบโตได้ด้วยการมุ่งเน้นที่งานและเป้าหมายมากขึ้น และขับเคลื่อนบริษัทของตนบนเส้นทางที่เหนียวแน่น ทำให้เป็นตัวอย่างที่ดีในการเอาอย่าง
Microsoft, LinkedIn, Google, Mozilla, Cure.fit และบริษัทที่มีชื่อเสียงอื่น ๆ ใช้ OKR สำหรับการจัดการประสิทธิภาพการทำงาน การพัฒนากลไกเพื่อติดตามความคืบหน้าของคุณนอกเหนือไปจากการตั้งเป้าหมายเป็นสิ่งสำคัญ ธุรกิจเหล่านี้จำนวนมากยังใช้ซอฟต์แวร์ OKR เช่น Darwinbox.
- วิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานแบบ 360 องศาเป็นการประเมินที่ละเอียดถี่ถ้วนที่สุด ซึ่งรวบรวมความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการปฏิบัติงานของพนักงานจากทุกแหล่งที่สัมผัสกับพนักงานในที่ทำงาน บริษัทที่มีชื่อเสียงบางแห่งที่ใช้การประเมินแบบ 360 องศา ได้แก่ MARUTHI SUZUKI Motors และ HCL
อ่านเพิ่มเติม
หากคุณกำลังมองหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดการประสิทธิภาพ นี่คือแหล่งข้อมูลที่สมบูรณ์สามแหล่งที่คุณสามารถอ่านได้:
- การบริหารผลการปฏิบัติงาน: ความหมาย ความสำคัญ ขอบเขต วัตถุประสงค์ องค์ประกอบ และบทบาท
- หลักการและวัตถุประสงค์ของการบริหารผลงาน: พื้นฐานสำหรับ HR
- การจัดการผลงาน: ประโยชน์ ความท้าทาย ข้อดี และอนาคต
ค้นหาว่า Darwinbox สามารถช่วยคุณสร้างวัฒนธรรมที่มีประสิทธิภาพสูงซึ่งพนักงานของคุณเจริญเติบโตด้วยระบบการจัดการประสิทธิภาพที่ทรงพลังได้อย่างไร ติดต่อเพื่อทำเดโม่ได้ วันนี้
สื่อสารกับเรา